วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรามาดูเกี่ยวกับ CPU กันนะค่ะ

CPUพิมพ์อีเมล์
 

          ในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น ทุกวงการจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นวงการแพทย์ วงการธุรกิจ และวงการอื่น ๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับเรามาก เพราะคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ทันสมัย มีการคำนวณที่แม่นยำ ถูกต้อง และรวดเร็ว
          บางคนสามารถประกอบคอมพิวเตอร์เองได้ โดยการไปเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ มาประกอบ แต่ในการเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นเราจะต้องมีความระมัดระวัง และรู้เท่าทันกับพ่อค้าหัวใสบางคน เพราะบางครั้งเราอาจจะถูกหลอกได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะไปเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ มาไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ เราจะต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้ลดค่าใช้จ่ายลง และได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ ในที่นี้จะพูดถึงการเลือกซื้อซีพียู 

CPU คืออะไร 

          CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit คือ หน่วยประมวลผลกลาง ตามที่พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์เอาไว้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (Chip) CPU มีลักษณะเป็นชิปตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง ภายใน CPU จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า CPU จะทำหน้าที่คำนวณตัวเลขจากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไปแล้ว CPU จะไปอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ

CPU อยู่ส่วนไหนของคอมพิวเตอร์ 
          เมื่อเปิดฝาเคสจะเห็นว่าอุปกรณ์หลัก ๆ มีอยู่ไม่กี่ชิ้น แต่จะมีแผงวงจรที่เต็มไปด้วยลายวงจร เรียกว่า เมนบอร์ด CPU จะวางอยู่บนเมนบอร์ด ตรงที่มีพัดลมและแผ่นโลหะระบายความร้อน เรียกว่า ฮีตซิงค์ (Heatsink) วางทับอยู่ ส่วนนั้นคือ CPU จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะทำมาจากวัสดุประเภทเซรามิค ภายในจะบรรจุด้วยวงจรทรานซิสเตอร ์ซึ่งมีขนาดเล็กเป็นล้านตัว ภายใต้ตัว CPU จะมีเหล็กแหลม ๆ คล้ายกับเข็มเป็นจำนวนมากส่วนนี้เรียกว่า ขาของ CPU ส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์ต่างๆ

Slot / Socket ฐานติดตั้ง CPU
          เทคโนโลยีการติดตั้ง CPU ของแต่ละบริษัทนั้นจะใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นรูปร่างลักษณะของ CPU แต่ละรุ่นจึงไม่เหมือนกัน เช่น CPU Pentium III ของ Intel ก็จะมีจำนวนของ CPU แตกต่างกับ CPU Duron ของ AMD และ CPU แต่ละตัวนั้นก็จะต้องมีมาตรฐานมารองรับกับ CPU นั้น เราสามารถแบ่งประเภทของ CPU ได้ตามลักษณะของฐานติดตั้ง CPU ซึ่งฐานติดตั้งของ CPU นั้นจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งทุก ๆ เมนบอร์ดจะต้องมีฐานติดตั้ง และจะต้องมีจำนวนขาเท่ากับ CPU ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ CPU จะต้องรู้ว่า CPU รุ่นนี้เป็น CPU ประเภทไหน
ฐานติดตั้ง CPU แบบ Socket 
          ฐานติดตั้ง CPU แบบ Socket นี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานติดตั้งจะมีรูเข็มอยู่จำนวนมากเพื่อที่จะสามารถรองรับกับจำนวนขาของ CPU เพราะ CPU แต่ละรุ่นจะมีจำนวนขาที่ไม่เท่ากัน ฐานติดตั้งแบบ Socket นี้มีหลายชนิด ชื่อรุ่นของ Socket จะตั้งตามจำนวนของ CPU ที่ Socket ชนิดนั้น ๆ รองรับ
ตารางแสดงรุ่นของ CPU ที่รองรับชนิดของ Socket
ชนิดของ Socket
รุ่นของ CPU ที่รองรับ
จำนวนขาของ CPU
Socket 478
Pentium 4 Willamette, Northwood
478
Socket 423
Pentium 4 Willamette
423
Socket A
Duron, Athlon Thunderbird, Athlon XP
462
Socket 370
Pentium III, Celeron
370
Socket 7
Pentium, KB6 – II, DB6 - III
321
Socket 8
Pentium Pro
387

ฐานติดตั้ง CPU แบบ Slot 

          ฐานติดตั้ง CPU แบบ Slot นี้ใช้กับ CPU ที่มีลักษณะเป็นการ์ด ซึ่งจะมี CPU ที่ใช้ Slot แตกต่างกันอยู่ 2 รุ่นคือ แบบ Slot 1 และ Slot A

ฐานติดตั้งแบบ Slot 1 
          ฐานติดตั้งแบบ Slot 1 นี้จะสนับสนุนการทำงาน CPU ของ Intel Pentium III รุ่นความเร็ว 450 MHz จนถึงรุ่นความเร็ว 1 GHz แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยใช้ฐานติดตั้งแบบนี้แล้ว เพราะ Intel เปลี่ยนไปใช้ CPU ติดตั้งแบบ Socket แทน เพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่า
ฐานติดตั้งแบบ Slot A
          ฐานติดตั้งแบบ Slot A นี้จะสนับสนุนการทำงาน CPU ของ AMD Athlon รุ่นที่มีความเร็ว 700 - 1000 MHz จะมีลักษณะคล้ายกับ CPU Slot 1 ของ Intel แต่ AMD ได้ยกเลิกการผลิต CPU ที่ใช้กับฐานติดตั้งบน Slot A ไปแล้ว และได้เปลี่ยนมาผลิต CPU ที่ใช้กับฐานติดตั้งแบบ Socket A

จำนวนขาของ CPU รุ่นต่าง ๆ 
1. Intel Pentium 100 - 233 MMX และ AMD K6 - K6 III มี 321 ขา ใช้งานร่วมกับ Socket 7
รูปที่ 1 แสดง CPU และ Socket 7

2. Intel Pentium Pro จะมี 387 ขา ใช้งานร่วมกับ Socket 8
รูปที่ 2 แสดง Socket 8
3. Intel Pentium Celeron - Pentium II มี 370 ขา ใช้งานร่วมกับ Socket 370
รูปที่ 3 แสดง CPU และ Socket 370

4. Intel Pentium Celeron - Pentium II แบบ Slot 1 ใช้งานร่วมกับ Slot 1 ของ Intel
รูปที่ 4 แสดง CPU แบบ Slot 1 และ Slot 1

5. AMD Athron Thunder Bird และ Duron Socket A
รูปที่ 5 แสดง CPU และ Socket A

6. AMD Athron Slot A
รูปที่ 6 แสดง CPU และ Slot A ของ AMD

7. Intel Pentium 4
รูปที่ 7 แสดง CPU และ Socket 423

จากภาพจะเห็นได้ว่า CPU แต่ละรุ่นจะคล้าย ๆ กัน แต่ถ้าดูดี ๆ แล้วจะเห็นว่าจำนวนขาของ CPU แต่ละรุ่นนั้นไม่เท่ากัน

แคช L1 / L2 หน่วยความจำบน CPU 
          แคช L1 / L2 เป็นหน่วยความจำภายใน CPU ที่ช่วยในการเก็บชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้ในการประมวลผล หน่วยความจำแคชนี้จะไม่เหมือนกับหน่วยความจำแรม แคช L1 / L2 เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงกว่าแรม ซึ่งแคชจะมีราคาแพงกว่าแรม ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านความเร็วของแคชได้พัฒนามาเรื่อย ๆ จนมีความเร็วเทียบเท่ากับสัญญาณนาฬิกาของ CPU ที่มันมีความเร็วสูงก็เพราะว่า มันถูกผลิตให้อยู่บนเนื้อที่เดียวกับตัว CPU หรือเรียกว่า On die

ลักษณะของ CPU รุ่นต่าง ๆ 
1. Celeron เป็นหน่วยประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Pentium II มีหน่วยความจำแคช L2 ขนาด 128 กิโลไบท์ ทำงานที่ความเร็วเดียวกับ CPU เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการความเร็วในการทำงานสูง เพราะมีความเร็วในการประมวลผลต่ำ และเป็น CPU ที่ออกแบบมาให้มีราคาถูก
2. Pentium III เป็นหน่วยประมวลผลที่พัฒนามาจาก Pentium II มีการออกอแบบทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเพิ่มคำสั่งด้าน 3 มิติ และเพิ่มความเร็วในการคำนวณเลขทศนิยม มีความเร็วเริ่มต้นในการทำงานที่ 450 MHz มีหน่วยความจำแคช L2 ทำงานที่ความเร็วเดียวกับ CPU
3. Pentium 4 เป็นหน่วยประมวลผลที่ออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหา CPU ที่ไม่สามารถทำงานที่สัญญาณนาฬิกาสูง ๆ ได้ แต่ Pentium 4 จะมีปัญหาการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ Pentium 4 จะแบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ รุ่นที่ใช้ Socket ขนาด 423 ขา และ 478 ขา
4. Duron เป็นหน่วยประมวลผลมีความเร็วในการทำงานเท่ากับ Pentium III ไม่มีปัญหาในเรื่องความร้อน เป็นรุ่นที่มีราคาถูกมาก ๆ
5. Athlon เป็นหน่วยประมวลผลที่ทำงานได้เร็วกว่า Pentium 4 ที่สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ความร้อนจะค่อนข้างสูง ต้องใช้แผ่นระบายความร้อนที่ใหญ่ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ CPU ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูง ๆ
6. Athron XP เป็นหน่วยประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Athron มีการออกแบบใหม่เพื่อลดปัญหาในเรื่องของความร้อน และเพิ่มระบบจัดการพลังงาน และยังเปลี่ยนแพ็กเก็ตเป็นแบบพลาสติกสีน้ำตาลแดงแทนแบบเซรามิก

วิธีดูความเร็ว CPU 
          CPU จะมีส่วนกำเนิดสัญญาณนาฬิกา เรียกว่า "Clock" คือ ความถี่ในการส่งสัญญาณของแหล่งกำเนิดไปยังส่วนต่าง ๆ ความเร็วของ CPU จะอยู่ที่ระดับล้านรอบต่อวินาที จะแทนด้วยหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz) แต่ตอนนี้ได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น ซึ่งความเร็วจะอยู่ที่ระดับพันล้านรอบต่อวินาที จะแทนด้วยหน่วยกิกะเฮิรตซ์ (GHz) ซึ่งเวลาเราจะซื้อ CPU เราก็จะดูได้จากตัวเลขที่บอกอยู่บนตัว CPU ถ้า CPU ตัวใดที่มีตัวเลขสูงก็แสดงว่า CPU ตัวนั้นประมวลผลได้ที่ความเร็วสูง เช่น Pentium 4 2.66 GHz, Celeron 1.2 A GHz, Duron 1.3 GHz

ประสิทธิภาพและความเร็วของ CPU 
          ประสิทธิภาพของ CPU นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของ CPU คือ ไม่ได้หมายความว่าถ้า CPU มีความเร็วมากแล้วจะทำให้ CPU นั้นมีประสิทธิภาพดี แต่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่นำมาประกอบเข้าด้วยกัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ แรม ถ้าหากเรานำ CPU ที่มีความเร็วสูงอย่าง Pentium 4 หรือ Athlon XP มาใช้กับแรมที่มีคุณภาพแค่ 64 MB และฮาร์ดดิสก์ 5,400 รอบ / นาที ก็ไม่สามารถทำให้ CPU ที่มีความเร็วสูงคุณภาพดีได้ ดังนั้นเราจึงควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์อื่น ๆ และการใช้งานด้วย จะทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีก และได้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้
บริษัทที่เป็นผู้ผลิต CPU มีหลายบริษัทด้วยกัน เช่น อินเทล (Intel Coperation) เอเอ็มดี (AMD) เวียร์ (VIA) และ ทรานสเมตา (Transmeta) แต่ที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ Intel และ AMD ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนี้เป็นคู่แข่งกัน ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะ CPU ของ Intel และ AMD

วิธีเลือก CPU ให้พิจารณาดังนี้ 
1. สำหรับคนที่ต้องการใช้งานด้านกราฟิก ตกแต่งรูปภาพ หรือทำภาพเคลื่อนไหว CPU ที่เหมาะสมกับงานลักษณะนี้คือ CPU ของ AMD รุ่น Thunderbird, Athlon XP หรือ CPU ของ Intel Pentium 4 แบบ 478 ที่ลงท้ายด้วย A ความเร็ว 2000 ขึ้นไป จะช่วยให้ทำงานด้านกราฟิกได้เป็นอย่างดี
2. สำหรับคนที่ใช้งานทั่วไป และผู้ใช้งานไม่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เลย เช่น พิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง ควรเลือก CPU ที่ทนทานต่อการเปิดใช้งานในระยะเวลานาน ๆ CPU ที่เหมาะสมกับงานลักษณะนี้ คือ CPU ของ Intel Pentium, Celeron แบบ Tualatin หรือ CPU ของ AMD Duron ความเร็ว 1 - 1.3 GHz
3. สำหรับงานด้านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งต้องเปิดเครื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน ควรเลือกใช้ CPU ของ Intel Pentium ที่มีความเร็วปานกลาง เช่น CPU Intel Pentium 4 แบบ 478 ที่ลงท้ายด้วย A ความเร็ว 1.7 - 2.2 GHz เพราะจะมีเสถียรภาพในการทำงานดี เครื่องไม่ค่อยแฮงค์
4. สำหรับคนเล่นเกม ถ้าต้องการเล่นเกมโดยเฉพาะ ควรเลือก CPU AMD Athlon XP ความเร็ว 1500 - 1900
5. สำหรับคนที่ต้องการจะเปิดร้านอินเตอร์เน็ต / ร้านเกมส์ CPU ที่เหมาะสมคือ AMD Duron ความเร็ว 1 - 1.3 GHz

ความแตกต่างของ CPU แบบ Tray และแบบ Box 
          Tray คือ CPU แบบถาด เป็น CPU ที่มีราคาถูกกว่า CPU แบบ Box คือ CPU ที่ใส่ไว้ในกล่อง CPU แบบ Tray จะเป็นการรับประกันของทางร้านเพียงแค่ปีเดียว ส่วน CPU แบบ Box ที่มีผู้นำเข้ามาเป็นตัวแทนอย่างถูกต้อง จะรับประกันถึง 3 ปี และมีที่รับเคลม CPU ซึ่งรับประกันให้อย่างแน่นอนว่าได้ CPU ตัวใหม่ และ CPU แบบ Box จะต้องดูว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาอย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าเป็นของ Intel ผู้นำเข้าจะเป็นบริษัท Ingram, Compex ถ้าเป็นของ AMD ผู้นำเข้าจะเป็นบริษัท Power Highland ซึ่งจะมีสติกเกอร์ของบริษัทติดอยู่ที่กล่อง

CPU Remark คืออะไร 
          CPU Remark คือ CPU ที่มีผู้ค้าบางคนนำ CPU ที่มีความเร็วต่ำมารันที่ความเร็วสูงขึ้นโดยการ Overclock ทำให้ผู้ค้าได้กำไรต่อหน่วยสูงขึ้น แต่ CPU ที่ไม่มีกล่อง บางครั้งก็อาจจะไม่ใช่ CPU Remark ก็ได้ เพราะผู้ค้าบางคนนำเข้ามาเฉพาะตัวชิป ไม่มีวัสดุห่อหุ้ม CPU มาด้วย
          ร้านในห้างไอทีบ้านเรานั้นมีการนำ CPU ปลอมออกมาวางขาย โดยการนำ CPU ความเร็วต่ำมา Overclock เพื่อให้ได้ความเร็วสูง ๆ แล้วหลอกขายในราคาที่แพง ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของ CPU ที่เราซื้อมาได้ เพราะในปัจจุบันนี้มีซอฟต์แวร์ที่ช่วยบอกเกี่ยวกับรายละเอียดของ CPU ให้เลือกใช้อยู่มากมาย ซึ่งบางโปรแกรมเป็นฟรีแวร์สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ารู้จักการใช้โปรแกรมเหล่านี้ก็จะมีประโยชน์ทางด้านการใช้งานของ CPU และการเลือกซื้อ CPU เพื่อไม่ให้ถูกหลอก

วิธีตรวจสอบ CPU สามารถทำได้ 2 วิธี
1. ถอด CPU มาดูโดยตรง วิธีนี้เป็นการอ่านรหัสบนตัว CPU จะเห็นว่าบนตัว CPU จะมีชุดรหัสตัวเลข 2 - 3 แถวสกรีนไว้ รหัสที่สกรีนไว้บนตัว CPU จะเป็นตัวบอกว่าเป็น CPU รุ่นไหน ความเร็วเท่าไร ผลิตเมื่อไร
2. ใช้โปรแกรมตรวจสอบ โปรแกรมตรวจสอบนี้จะเป็นของ Intel Processor Frequency ID Utility ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ Intel โปรแกรมนี้จะใช้ได้กับเฉพาะ CPU ของ Intel เท่านั้น ถ้า CPU ถูก Overclock โปรแกรมจะแจ้งให้ทราบทันที

วิธีการที่จะเลือกซื้อไม่ให้เจอ CPU ปลอม 
1. ดูว่าตัวอักษรความเร็วที่พิมพ์ (Screen) ลงบนตัวชิปนั้นมีความคมชัด หรือบิดเบี้ยวหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นของแท้ตัวอักษรของ Intel ต้องเรียบไม่มีรอยขูดขีด
2. ดูกล่องที่ใส่ CPU ซึ่งของ Intel จะมีโฮโลแกรม (Hologram) หรือวัสดุสีรุ้ง จะมีโลโก้ของ Intel
3. เลือก CPU ที่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศ ของ Intel จะเป็นบริษัท Ingram นำเข้า ส่วนของ AMD จะเป็นบริษัท PHL ซึ่งเราสามารถสอบถามกับทางร้านได้ว่ามาจากบริษัทใด ถ้าทางร้านไม่บอกให้ดูที่สติกเกอร์รับประกัน เพราะที่สติกเกอร์จะมีชื่อบริษัทอยู่ ทำให้รู้ว่าเป็นของบริษัทใด
4. การรันเปรียบเทียบ CPU รุ่นเดียวกัน ถ้าเป็น CPU Remark จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า การรันเปรียบเทียบนี้ถ้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง อาจมีปัญหาได้ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง จะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้น CPU แต่ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวได้ โดยเปลี่ยนเฉพาะ CPU เท่านั้น

ตารางเปรียบเทียบราคา CPU ของ Intel และ AMD
INTEL PENTIUM & CELERON
AMD DURON & ATHLON XP
CELERON 1.1 GHz. = 13,200
CELERON 1.2 GHz. = 13,400
CELERON 1.3 GHz. = 13,700
CELERON 1.7 GHz. = 14,200
CELERON 1.8 GHz. = 15,000
CELERON 2.0 GHz. = 15,800
PENTIUM 4 1.7 GHz. = 17,500
PENTIUM 4 1.8 GHz. = 18,400
PENTIUM 4 2.4 GHz. = 19,400
PENTIUM 4 2.5 GHz. = 20,900
AMD DURON 950 MHz. = 12,500
AMD DURON 1.1 GHz. = 12,600
AMD DURON 1.3 GHz. = 12,990
ATHLON XP 1.6 GHz. = 13,600
ATHLON XP 1.7 GHz. = 13,700
ATHLON XP 1.8 GHz. = 14,300
ATHLON XP 2.0 GHz. = 14,990
ATHLON XP 2.2 GHz. = 16,300
ATHLON XP 2.4 GHz. = 17,200

ข้อควรสังเกต 
          เมื่อจะซื้อ CPU ของ Intel และ AMD ที่มีความเร็วสูง ๆ ขึ้นไป จะต้องดูว่าสามารถใช้กับเมนบอร์ดที่มีอยู่ได้หรือไม่โดยถามได้จากคนขายหรือดูที่ข้างกล่องของ CPU ในส่วน CPU ของ Intel ถ้าที่ข้างกล่องพิมพ์ความเร็วของ CPU และมี A ลงท้ายแสดงว่าเป็น CPU รุ่นใหม่ เช่น 1A GHz ก่อนที่จะซื้อต้องศึกษาดูให้ดีก่อนว่าเมนบอร์ดที่มีอยู่สนับสนุนกับ CPU รุ่นใหม่นี้หรือไม่ สามารถดูได้จากคู่มือของเมนบอร์ดที่มีอยู่
          CPU ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีในการผลิต CPU ก็ถูกพัฒนาไปได้เร็วมาก ๆ ซึ่งดูได้จากภายในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาความเร็วของ CPU ได้ถูกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประมาณปลายปี 2543 เป็นครั้งแรกที่ความเร็วของ CPU เพิ่มสูงขึ้นถึง 1 GHz นับว่าเร็วมาก แนวโน้มในการผลิต CPU ในอนาคตใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลงเท่าไร ก็จะทำให้วิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้ออกแบบ CPU เพิ่มจำนวนวงจรทรานซิสเตอร์เข้าไปภายใน CPU ตัวหนึ่งได้มากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความเร็วของ CPU มีความเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ
          ดังนั้น ในการที่เราจะเลือกซื้อ CPU เราควรจะเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องซื้อเฉพาะ CPU ที่มีความเร็วมาก เพราะจำทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และในการเลือกซื้อนั้นทางที่ดีที่สุดเราควรจะเลือกซื้อ CPU แบบกล่องที่มีผู้นำเข้ามาเป็นตัวแทนอย่างถูกต้อง และมีการรับประกันที่แน่นอน ถ้าเราใช้ของปลอมก็จะทำให้พบปัญหาระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น