วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลาย

P-05
พาวเวอร์ซัพพลายเป็นส่วนที่ละเลยกันมากที่สุดในการเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ บ่อยครั้งที่เราเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เราแค่คำนึงถึงความเร็วของซีพียู เมนบอร์ด ขนาดหน่วยความจำ ขนาดฮาร์ดดิสก์ และลืมเรื่องเกี่ยวกับพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พาวเวอร์ซัพพลายคือผู้ที่จัดหา “เชื้อเพลิง”สำหรับส่วนต่าง ๆ ของพีซีเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง พาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพดีและมีความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างพอเพียงสามารถเพิ่มความทนทานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ อีกทางหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพต่ำ อาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงานหลายครั้ง ซึ่งยากต่อการแก้ไข พาวเวอร์ซัพพลายที่ชำรุดหรือคุณภาพแย่อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน พื้นที่บางส่วนของฮาร์ดดิสก์เสีย เกิดบลูสกรีนอันเลื่องชื่อ และอาจรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์รีเซตตัวเองหรือทำงานค้างเป็นครั้งคราว และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องอีกมากมาย

เราจะมาดูกันว่าเมื่อต้องเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายซักตัว เราต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้าง ไม่ใช่ดูแค่ว่าพาวเวอร์ซัพพลายที่เราจะซื้อนั้นจ่ายไฟได้กี่วัตต์
หน้าที่ของพาวเวอร์ซัพพลาย
คอมพิวเตอร์ต้องใช้ไฟฟ้าจึงจะทำงานได้ แต่การที่จะนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ ไปต่อกับปลักไฟโดยตรง จัดเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีตัวกลางคอยช่วยเหลือ ซึ่งก็คือพาวเวอร์ซัพพลายนั่นเอง จุดมุ่งหมายของพาวเวอร์ซัพพลายก็คือการแปลงกระแสไฟฟ้าจากปลักไฟ ไปเป็นโวลเตจที่ชิ้นส่วนต่างๆ ในคอมพิวเตอร์การใช้อยู่ ดังนั้นเมื่อคุณเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าที่มีแรงดัน 220 โวลต์ เข้าหาพาวเวอร์ซัพพลายแล้ว สิ่งที่คุณได้รับกลับมาก็คือชุดของแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานที่สามารถจัดการได้ง่ายกว่า นอกจากนั้นพาวเวอร์ซัพพลายยังมีหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรงอีกด้วย เนื่องจากกระแสตรงจะใช้กับชิ้นส่วนไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่ายกว่า
แรงดันไฟฟ้าสำคัญที่สุด 3 ระดับที่พาวเวอร์ซัพพลายสามารถสร้างออกมาให้เราใช้อยู่ก็คือ +3.3V, +5V และ +12V โดยที่เอาต์พุทแบบ +3.3V และ +5V มักใช้กับพวกชิปต่างๆ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เอาต์พุทแบบ +12V ใช้กับกลไกในฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟซีดีรอมหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ถ้าหากเรามีเอาต์พุทแค่สองแบบน่าจะสะดวกมากกว่า นั่นก็คืออันหนึ่งสำหรับส่วนที่เป็นกลไกและอีกส่วนหนึ่งสำหรับสวนที่เป็นชิป แต่ปัญหาก็คือเมื่อมีการเปิดตัวมาตรฐานใหม่ๆ ใดออกมา มาตรฐานนั้นมักต้องมีความเข้ากันได้กับเทคโนโลยีที่เดิมที่มีอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามเดี๋ยวนี้ชุดจ่ายไฟแบบ +12V ไม่ได้ใช้กับอุปกรณ์พวกที่เป็นกลไกเพียงอย่างเดียว บรรดาซีพียูรุ่นใหม่ รวมไปถึงพวกกราฟิกการ์ดที่มีความเร็วสูงก็มีความต้องการแรงดันไฟฟ้า +12V เพิ่มขึ้นมาด้วย
บริเวณด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลายนอกจากจะมีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับสายไฟ AC แล้ว คุณยังจะเจอกับสวิทช์สำหรับใช้เลือกใช้ขนาดแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 110V และ 220V ด้วย สวิทช์ดังกล่าวมีอยู่เพื่อช่วยให้เราสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลายในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ ที่ใช้ไฟ 110V ได้ด้วย แต่ก็มีพาวเวอร์ซัพพลายอีกหลายรุ่นที่ไม่จำเป็นต้องมีสวิทช์ดังกล่าว เนื่องจากมันสามารถเลือกโวลเตจที่เหมาะสมได้เอง เทคโนโลยีแบบนี้ในบางครั้งเรียกว่า “wide input voltage” ก็มี
และเพื่อทำให้ตัวพาวเวอร์ซัพพลายเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวมันเองก็จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อนบางอย่างด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วระบบระบายความร้อนของพาวเวอร์ซัพพลายก็จะประกอบไปด้วยฮีตซิงค์และพัดลม โดยพัดลมก็จะทำหน้าที่สร้างอากาศหมุนเวียนผ่านพาวเวอร์ซัพพลาย และในพาวเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยพัดลมจะทำงานโดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก เช่นถ้ามีความร้อนเพิ่มขึ้นความเร็วรอบของพัดลมก็จะสูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดลงความเร็วรอบในการหมุนของพัดลงก็จะลดลงด้วย ซึ่งคุณสมบัตินี้ถูกพัฒนาออกมาเพื่อช่วยลดเสียงรบกวนในการทำงาน
มาตรฐานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายของพีซีมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันหลายแบบ ซึ่งรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันนี้มันมาจากเรื่องของมาตรฐานนั่นเอง นอกจากความต่างกันเรื่องขนาดและแบบของปลั๊กแล้ว ความต่างศักย์ที่จ่ายออกมายังต่างกันอีกด้วย ดังต่อไปนี้

มาตรฐาน AT
พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT ใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ AT พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้จะจ่ายไฟด้วยความต่างศักย์สี่ค่าคือ +5V, +12V, -5V และ 12V และใช้หัวต่อแบบ 12 ขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแบ่งออกเป็น 6 ขา 2 ชุด ปัญหาก็คือ หัวต่อ 6 ขาทั้งสองชุดนี้สามารถเสียบเข้าไปในด้านใดก็ได้ของหัวต่อ 12 ขาบนเมนบอร์ด เพื่อป้องกันการผิดพลาด เราต้องจำให้ขึ้นใจว่าต้องติดตั้งหัวต่อแบบนี้โดยจัดวางในลักษณะให้สายสีดำอยู่ตรงกลางของหัวต่อแต่พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT นั้นตกยุคไปได้หลายปีแล้ว

clip_image002
ตัวอย่างการต่อคอนเน็คเตอร์ของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT เข้ากับเมนบอร์ดแบบ AT

มาตรฐาน ATX
พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX จะใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ ATX โดยเหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน ATX นี้เป็นมาตรฐานที่มีบทบาทมากที่สุดในเวลานี้แม้ว่าจะมีการเปิดตัวมาตรฐานของ BTX ออกมานานแล้วก็ตาม แต่มาตรฐานของ ATX นั้นก็ยังคงอยู่และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาอีกหลายเวอร์ชัน และเราก็ยังสามารถนำพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ไปใส่ในเคสแบบ BTX ได้ รวมไปถืงเมนบอร์ดแบบ ATX ก็สามารถนำไปติดตั้งในเคสที่เป็น BTX ได้เช่นกัน เพราะทางผู้ผลิตเคสได้ทำช่องสำหรับยึดตำแหน่งของพาวเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดแบบ ATX เอาไว้ด้วย
สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ก็จะมีหลายรูปแบบที่เราจะกล่าวถึงต่อไป สำหรับความแตกต่างประการหลักสามประการระหว่างพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT และ ATX คือ มีสายไฟฟ้า +3.3V เพิ่มเติมอีกหนึ่งสาย, พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ในเวอร์ชันแรกๆ ใช้หัวต่อแบบ 20 ขา และพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีสายสำหรับเปิดปิด อันทำให้สามารถปิดพาวเวอร์ซัพพลายด้วยซอฟต์แวร์ได้ พาวเวอร์ซัพพลายของ ATX มีขนาดกว้าง, สูง, ลึกเท่ากับ 5.90 นิ้ว x 3.38 นิ้ว x 5.51 นิ้ว (150 มิลลิเมตร x 86 มิลลิเมตร x 140 มิลลิเมตร
clip_image004
คอนเน็คเตอร์หลักของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX และคอนเน็คเตอร์พาวเวอร์บนเมนบอร์ด ATX
มาตรฐาน ATX12V v1.x
เนื่องจากซีพียูสมัยใหม่ต้องการพลังงานมากขึ้น จึงได้มีการเพิ่มหัวต่อให้กับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX กล่าวคือ หัวต่อ 12V แบบสี่ขาและหัวต่อเสริม +3.3V และ +5V หกขา โดยหัวต่อแบบหกขานี้แต่เดิมมีใช้กันอยู่ในเมนบอร์ด Pentium 4 รุ่นแรก (เมนบอร์ดที่ใช้ซ็อกเก็ต 423) เราใช้พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยมีขนาดทางกายภาพเหมือนกับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ATX12V v1.3 ยังได้มีการนำหัวต่อ Serial ATA ซึ่งมี 15 ขาเข้ามาใช้
clip_image006
คอนเน็คเตอร์ AUX สี่ขา ATX12V บนเมนบอร์ด
clip_image008
คอนเน็คเตอร์ AUX สี่ขาของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x และคอนเน็คเตอร์ 8 ขาของ EPS ATX 12V
clip_image010
หัวต่อเสริมหกขาบนพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x
clip_image012
หัวต่อ 15 ขาเพื่อจ่ายไฟ Serial ATA ที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.3
มาตรฐาน ATX12V v2.x
ATX12V รุ่นใหม่นี้เปลี่ยนหัวต่อจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ดจาก 20 ขาเป็น 24 ขา และยังยกเลิกหัวต่อเสริม 6 ขาเนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป รวมทั้งปรับการใช้งานหัวต่อจ่ายไฟ Serial ATA อย่างไรก็ดี มีเมนบอร์ดATX12V v2.x บางรุ่นที่ยังคงเปิดโอกาสให้เราใช้กับพาวเวอร์ซัพพลาย 20 ขาดังเช่นพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v2.x กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยผ่านทางตัวแปลง ขนาดทางกายภาพของ ATX12V v2.X เหมือนกันกับพาวเวอร์ซัพพลาย ATX ดั้งเดิมและยังคงรักษาหัวต่อ 12V 4 ขาเพิ่มเติมที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.x
clip_image014
คอนเน็คเตอร์พาวเวอร์ 24 ขา และคอนเน็คเตอร์พาวเวอร์ EPS 12V บนเมนบอร์ด
clip_image016 ตัวแปลงจาก 24 ขาไปเป็น 20 ขา
มาตรฐานแบบอื่นๆ
EPS12V: SSI (Server System Infrastructure) เป็นผู้กำหนดรูปทรงนี้สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายเซิร์ฟเวอร์ระดับล่าง พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้ใช้หัวต่อบนเมนบอร์ดแบบเดียวกับ ATX12V v2.x และมีหัวต่อ 12V 8 ขาแบบใหม่ EPS12V ยังคงมีขนาดเหมือนกับมาตรฐาน ATX ดั้งเดิม และใช้กับเมนบอร์ดแบบ EPS12V เนื่องจากพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีหัวต่อเพิ่มขึ้นมาเพียงอันเดียว ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายหลายรายจึงผลิตรุ่นที่เป็นทั้ง ATX12V v2.x และ EPS12V ในเวลาเดียวกัน
clip_image018 หัวต่อ EPS12V
นอกจากรูปทรงหลักของพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับเครื่องเดสก์ทอปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีรูปทรงสำหรับเครื่องพีซีขนาดเล็กเช่นกัน
clip_image020 พาวเวอร์ซัพพลาย LFX12V

การระบายความร้อน
ดังที่เราได้กล่าวมาแล้วว่า พาวเวอร์ซัพพลายมีบทบาทสำคัญในกระบวนระบายความร้อนของพีซี โดยหน้าที่ที่แน่นอนของมันคือนำอากาศร้อนออกไปจากเคส การไหลของอากาศภายในพีซีจะเริ่มจากอากาศเย็นไหลผ่านเข้าไปทางช่องด้านหน้าของเคส ต่อจากนั้น อากาศถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยอุปกรณ์ดังเช่นซีพียู การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ ชิปเซต ฯลฯ เนื่องจากอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น มันจึงลอยขึ้นไปด้านบนตามหลักธรรมชาติทำให้อากาศร้อนลอยตัวไปถูกกักอยู่ตรงส่วนบนสุดของเคส พัดลมทำความเย็นของพาวเวอร์ซัพพลายจะทำงานเป็นพัดลมระบายอากาศ ดึงลมร้อนออกจากบริเวณนี้และเป่าออกไปจากพีซี
ในยุคหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีราคาแพงจะมีพัดลมระบายอากาศสองหรือสามตัว แต่เดี๋ยวนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเปลี่ยนมาใช้พัดลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนเพื่อลดเสียงรบกวนในการทำงานไปด้วยในตัว และเคสส่วนมากก็จะมีพื้นที่ว่างพอควรสำหรับติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมที่ด้านหลัง
อย่างไรก็ตามเคสคอมพิวเตอร์บางรุ่นก็ไม่ได้ให้เราทำการติดตั้งพาวเวอร์ซัพพลายไว้ทางด้านบนของตัวเคส แต่จะให้พาวเวอร์ซัพพลายอยู่ด้านล่างของเคสแทน หรือถ้าเป็นเคสที่วางแบบแนวนอนพาวเวอร์ซัพพลายก็จะอยู่ด้านหนึ่ง เมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะอยู่อีกด้านหนึ่ง พาวเวอร์ซัพพลายก็ยังมีส่วนช่วยในการระบายความร้อนออกจากเคสอยู่ดี เพราะอย่างน้อยๆ มันก็นำความร้อนจากตัวมันเองออกสู่นอกเคส ไม่ทิ้งความร้อนสะสมไว้ภายในตัวเครื่องเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ
clip_image022 การไหลของอากาศภายในเคสของพีซี
ปัญหาของพัดลมรวมไปถึงพัดลมพิเศษของพาวเวอร์ซัพพลายคือเสียง ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของเราได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเสียง ผู้ผลิตบางรายจึงได้ใส่คุณสมบัติเพิ่มเติมเข้าไปในพาวเวอร์ซัพพลาย เช่น ความเร็วการหมุนของพัดลมขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของพาวเวอร์ซัพพลาย เมื่อต้องการพลังงานน้อย เสียงก็จะเบาลง อย่างไรก็ดี มีพาวเวอร์ซัพพลายบางแบบที่เราต้องกำหนดความเร็วของพัดลมระบายอากาศเองผ่านทางสวิตช์ด้านหลัง ไม่ได้กระทำแบบอัตโนมัติ
ความมีเสถียรภาพ
พาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพสูงจะต้องรับประกันว่าสามารถจ่ายไฟที่มีค่าความต่างศักย์คงที่โดยไม่คำนึงถึงความไม่สมบูรณ์หรือโอเวอร์โหลดที่เกิดขึ้นมาจากระบบไฟฟ้าหรือจากการใช้ไฟฟ้าที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย มีความจำเป็นที่ความต่างศักย์ที่พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายออกมาต้องคงที่ โดยอุปกรณ์บางอย่างของคอมพิวเตอร์บางอย่างโดยเฉพาะซีพียูมีความไวต่อการขึ้น ๆ ลง ๆ ของความต่างศักย์มาก อาการขึ้น ๆ ลง ๆ ทันทีทันใดอาจทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงานหรือทำให้ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์บางอย่างไหม้ อย่างไรก็ดี คอมพิวเตอร์สามารถทนต่อการขึ้น ๆ ลง ๆ ของความต่างศักย์บางอย่างได้โดยไม่ทำให้ส่วนประกอบเสียหายไป ในตารางที่ 1 แสดงความต่างศักย์ที่พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายออกมา กับค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดที่คอมพิวเตอร์สามารถรองรับได้

ความต่างศักย์ที่ออกมาความเบี่ยงเบนค่าต่ำสุดค่าสูงสุด
+5VDC+/-5%+4.75V+5.25V
+12VDC+/-5%+11.40V+12.60V
-5VDC+/-10%-4.5V-5.5V
-12VDC+/-10%-10.8V-13.2V
+3.3VDC+/-5%+3.14V+3.47V
+5V SB+/-5%+4.75V+5.25V

ตารางที่ 1 ความต่างศักย์ที่พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายออกมา กับค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดที่คอมพิวเตอร์สามารถรองรับได้
ความสามารถในการจ่ายพลังงาน
เราจำแนกประเภทและการทำตลาดของพาวเวอร์ซัพพลายตามพลังงานสูงสุดที่สามารถจ่ายออกมาได้ในหน่วยวัตต์ พลังงานคือความจุของพลังงานไฟฟ้าที่จะถูกแปลงให้เป็นพลังงานอีกแบบหนึ่ง ซึ่งปกติจะเป็นพลังงานความร้อน, พลังงานกล, พนังงานเคมี ฯลฯ โดยทั่วไป ความสามารถในจ่ายพลังงานของพาวเวอร์ซัพพลายยิ่งมากขึ้น เราก็ยิ่งสามารถติดตั้งบอร์ดและอุปกรณ์ข้างเคียงบนคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้นเช่นกัน
แต่ว่า ความจุของพาวเวอร์ซัพพลายที่จริงแล้วคืออะไร? ความหมายของพาวเวอร์ซัพพลาย “300 วัตต์” “500 วัตต์” หรือ “1000 วัตต์” คืออะไร
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พาวเวอร์ซัพพลายจะทำตลาดตามพลังงานสูงสุดที่ผลิตได้ออกมา คำว่าพาวเวอร์ซัพพลาย 300 วัตต์ หมายความว่า มันสามารถจัดหาพลังงานสูงสุดไปยังคอมพิวเตอร์ที่ 300 วัตต์ ค่ากำลังสูงสุดของพลังงานที่จัดหาให้อาจจะคำนวณง่าย ๆ ได้โดยการคูณความต่างศักย์ของเอาต์พุตแต่ละอย่างแล้วนำผลที่ได้มาบวกเข้าด้วยกัน เช่น ตารางข้างล่างแสดงวิธีพลังงานสูงสุดที่ผลิตขึ้นมาโดยพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT 300W โดยพลังงานที่ผลิตออกมาเป็นค่าความต่างศักย์ลบจะถูกบวกไปที่ผลรวมทั้งหมด ไม่ใช่นำไปลบ จะเห็นว่าพาวเวอร์ซัพพลาย AT นี้สามารถผลิตพลังงานทั้งหมดมากกว่า 300W เล็กน้อย ดูตารางที่ 2

ความต่างศักย์เอาต์พุตกระแสไฟฟ้าพลังงานสูงสุด
+12V12A12 x 12 = 144W
+5V30A5 x 30 = 150W
-5V0.3A5 x 0.3 = 1.5W
-12V1A12 x 1 = 12W
ความจุทั้งหมดของพาวเวอร์ซัพพลาย144 + 150 + 1.5 + 12 = 307.5W

ตารางที่ 2 ตัวอย่างการคำนวณจำนวนวัตต์ของพาวเวอร์ซัพพลายมาตรฐาน AT
การคำนวณความจุสูงสุดของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX มีความแตกต่างเล็กน้อยอันเนื่องมาจากแนวความคิดเรื่องพลังงานร่วมกัน พาวเวอร์ซัพพลาย ATX จะรวมเอาต์พุต +3.3V กับ +5V เพื่อให้ค่าพลังงานใหม่ซึ่งก็คือพลังงานร่วมกัน อันหมายความว่า ค่าที่นำมาพิจารณาเมื่อทำการคำนวณกำลังสุดของพาวเวอร์ซัพพลายคือ ค่าของพลังงานร่วม ไม่ได้เป็นค่าเดี่ยวของเอาต์พุตสองอย่างนี้
ในตารางที่ 3 เรารวมค่ากระแสและพลังงานที่เกี่ยวข้องของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX 300W เข้าด้วยกัน จะเห็นว่า ค่าของพลังงานร่วมกันคือ 150W (+3.3V/+5V) ในการคำนวณกำลังสูงสุดของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX เราทำการบวกค่าพลังงานของเอาต์พุต +12V เข้ากับพลังงานร่วมกัน (+3,3V/5V), พลังงานของเอาต์พุต -12V และพลังงานของ +5V Standby ผลที่ได้เป็นกำลังสูงสุดที่สามารถจ่ายไปให้คอมพิวเตอร์ได้

ความต่างศักย์เอาต์พุตกระแสไฟฟ้าพลังงานสูงสุด
+12V8A12 x 8 = 96W
+5V30A5 x 30 = 150W
+3.3V14A3.3 x 14 = 46.2W
+3.3V/+5V150W
-5V0.5A5 x 0.5 = 2.5W
-12V0.5A12 x 0.5 = 6W
Standby1.5A5 x 1.5 = 7.5W
ความจุทั้งหมดของพาวเวอร์ซัพพลาย96+ 150 +2.5 + 6 + 7.5 = 262W

ตารางที่ 3 ตัวอย่างการคำนวณค่าการจ่ายไฟของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX 300 วัตต์
ตัวอย่างในตารางที่ 3 นี้เราจะเห็นว่า พาวเวอร์ซัพพลายนี้อันที่จริงเป็นพาวเวอร์ซัพพลาย 262W ไม่ใช่ 300W ดังที่ได้โฆษณาไว้ โชคไม่ดีที่นี่คือเรื่องจริงที่เราพบเห็นกันทั่วไปว่าผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายแจ้งบอกค่าพลังงานสูงสุดอย่างไม่ถูกต้อง วิธีที่ง่ายที่สุดในการค้นหาค่าพลังงานสูงสุดที่แท้จริงที่พาวเวอร์ซัพพลายสามารถทำได้คือ การคำนวณตามสูตรที่ได้กล่าวมาแล้ว
อย่างไรก็ดี ค่าที่ได้จากการคำนวณไม่ได้หมายความว่า พาวเวอร์ซัพพลายจะสามารถให้พลังงานตามที่คำนวณไว้ได้ มันเป็นเพียงแค่ตัวเลขของพาวเวอร์ซัพพลาย (ตามที่ติดป้ายบอก)เท่านั้น เราต้องมีการทดสอบอย่างทั่วถึงในห้องทดลองโดยการใช้โหลดพลังงานเต็มที่เพื่อทดสอบดูว่า พาวเวอร์ซัพพลายสามารถจ่ายค่าตัวเลขนี้ได้จริง
ประสิทธิภาพของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายไฟแสดงจำนวนเปอร์เซ็นต์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ถูกแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงอย่างมีประสิทธิภาพ มันคือความแตกต่างระหว่างการใช้พลังงานที่แหล่งจ่ายไฟส่งออกมากับส่วนที่ถูกดูดซับโดยระบบไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ
ถ้าแหล่งจ่ายไฟจ่ายเอาต์พุตออกมา 150W และใช้พลังงาน 200W จากระบบไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน เราสามารถสรุปได้ว่า แหล่งจ่ายไฟนี้มีประสิทธิภาพ 75% ความแตกต่าง จำนวน 50W ในตัวอย่างนี้ ถูกแพร่กระจายในรูปของความร้อน อันหมายความว่า แหล่งจ่ายไฟที่มีดัชนีประสิทธิภาพสูงกว่า จะก่อให้เกิดความร้อนภายในเคสน้อยกว่าแหล่งจ่ายไฟที่มีดัชนีประสิทธิภาพต่ำกว่า
แหล่งจ่ายไฟอาจเป็นหนึ่งในหลายส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดความร้อนภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แหล่งจ่ายไฟที่ราคาแพงกว่าซึ่งมีระดับประสิทธิภาพสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความร้อนน้อยกว่าที่รุ่นที่มีราคาถูกกว่า เนื่องจากในปัจจุบัน สิ่งที่ควรคำนึงถึงตอนประกอบพีซีคือ ความร้อนสูง ดังนั้นเราควรนำข้อมูลข่าวสารนี้มาพิจารณา
ถอดรหัส Power Factor Correction อีกอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับพาวเวอร์ซัพพลาย
Power Factor Correction (PFC) หรือการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังเป็นคำศัพท์ที่บริษัทผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายคิดค้นออกมา อย่างไรก็ดี คำศัพท์นี้ก่อให้เกิดความสับสนพอสมควรเพราะผู้ผลิตแต่ละรายให้คำนิยามของคำศัพท์นี้แตกต่างกันไป ซึ่งมีการพูดถึงการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังมากมาย แต่คำอธิบายส่วนใหญ่ก่อให้เกิดความสับสนหรือไม่ตรงประเด็น รายละเอียดต่อไปนี้จะสรุปนิยามของการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังเพื่อความชัดเจนว่าจริง ๆ แล้ว PFC คืออะไร
นิยามของ PFC
ก่อนอื่น เรามาดูนิยามของ PFC ของผู้ผลิตแต่ละรายกันก่อน เริ่มด้วย Zalman ที่ให้คำนิยามของ PFC ไว้ดังนี้“ระบบแหล่งจ่ายไฟที่มีเครื่องปรับแรงดันแบบสวิตชิ่งจะมีวงจรแปลงไฟที่ทำหน้าที่แปลงไฟอินพุตกระแสสลับให้เป็นไฟกระแสตรงเพื่อป้อนไฟให้วงจรหลัก วงจรแปลงไฟนี้ประกอบด้วยตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ซึ่งทำหน้าที่ปรับไฟกระแสตรงให้มีความราบเรียบมากขึ้นและช่วยให้วงจรรักษาระดับแรงดันสามารถทำงานได้ตามต้องการ อย่างไรก็ดี ประจุยอด (peak charge) ของตัวเก็บประจุจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อต้องการค่าความจุมากขึ้น ซึ่งค่านี้ก่อให้เกิดกระแสไฟกระชากแบบไม่เป็นเชิงเส้นแก่วงจรหลัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความบิดเบือนต่อแรงดันไฟฟ้า, ความถี่ฮาร์มอนิก (harmonic คือส่วนประกอบในรูปสัญญาณคลื่นไซน์ของสัญญาณหรือปริมาณเป็นคาบใด ๆ ซึ่งมีความถี่เป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่หลักมูล เช่น ไฟฟ้าในประเทศไทยมีความถี่หลักมูลเท่ากับ 50 Hz ผลของฮาร์มอนิกเมื่อรวมกันกับสัญญาณความถี่หลักมูลทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นมีขนาดและรูปสัญญาณเพี้ยนไป และทำให้ค่า power factor ลดลง) ปัจจุบัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลสำหรับควบคุมฮาร์มอนิก (IEC100-3-2) และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ไฟอย่างน้อย 70 วัตต์ในประเทศแถบยุโรปต้องมีการนำ PFC มาใช้นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2001”
สำหรับ Enermax ได้ให้นิยามไว้ดังนี้ “ค่าตัวประกอบกำลังเท่ากับ 95 เปอร์เซ็นต์ที่แรงดันกระแสสลับ 230 โวลต์ขณะมีการใช้งานอย่างเต็มที่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2001 ประเทศในสหภาพยุโรปต้องมีการนำมาตรฐาน EN61000-3-2 (ฮาร์มอนิกของสายไฟ) และ EN61000-3-3 (การกระเพื่อมของสัญญาณในสายไฟ) มาใช้ และสินค้าทุกชิ้นที่ส่งมายังประเทศในสหภาพยุโรปหรือวางตลาดในประเทศในสหภาพยุโรปต้องทำตามมาตรฐานทั้งสองตัวนี้”
ซึ่งดูแล้วยิ่งสับสน ดังนั้นเรามาสร้างความชัดเจนกัน

การแก้ไข Power Factor
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประกอบด้วยมอเตอร์ หรือหม้อแปลงดังเช่นพาวเวอร์ซัพพลาย จะมีการใช้พลังงานสองแบบคือ active (วัดค่าเป็น KWh) และ reactive (วัดค่าเป็น kVAh) โดยพลังงาน active คือพลังงานที่ผลิตงานจริง เช่น การหมุนของแกนมอเตอร์ ส่วนพลังงาน reactive (ยังเรียกว่าเป็นพลังงานแม่เหล็ก) คือพลังงานที่ต้องการเพื่อผลิตสนามแม่เหล็กเพื่อช่วยให้การทำงานจริงทำได้บนหม้อแปลง, มอเตอร์ ฯลฯ ผลรวมของเวคเตอร์ของพลังงาน reactive และพลังงานจริงเรียกว่าพลังงาน apparent และวัดค่าออกมาเป็น kVAh สำหรับลูกค้าอุตสาหกรรม การไฟฟ้าวัดและคิดค่าการใช้โดยยึดถือพลังงาน apparent แต่สำหรับลูกค้าที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า พลังงานที่วัดและคิดค่าคือพลังงาน active
ปัญหาคือ แม้ว่าจะมีความจำเป็นต่อมอเตอร์และหม้อแปลง ส่วนพลังงาน Reactive “ครอบครองพื้นที่ว่าง”บนระบบซึ่งพลังงาน active สามารถนำไปใช้ได้มากกว่า
Power factor คืออัตราส่วนระหว่างพลังงาน active และพลังงาน apparent ของวงจร (power factor = พลังงาน active หารด้วยพลังงาน apparent) อัตราส่วนนี้สามารถแปรเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0 (0%) ถึง 1 (100%) ค่าที่ใกล้ 1 มากที่สุดแสดงถึงข้อดีที่มากกว่าเพราะมันหมายความว่า วงจรดูดซับพลังงาน reactive น้อยกว่า
เพื่อที่ว่าจะทำให้เกิดการใช้พลังงาน Reactive ให้พอเหมาะ หลายประเทศได้จัดตั้งกฎหมายของจำนวนเปอร์เซ็นต์พลังงาน reactive สูงสุดที่ลูกค้าสามารถใช้ได้ ถ้าลูกค้ามี power factor ต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้โดยทางรัฐบาล (นั่นคือพลังงาน reactive สูงกว่าขีดจำกัดที่ตั้งไว้ตามกฎหมาย) ลูกค้าจะต้องเสียค่าปรับ
แนวคิดเรื่องค่าปรับมีอยู่เพื่อบังคับให้อุตสาหกรรมปรับปรุง Power factor ได้ดีขึ้น และเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาใช้พลังงาน reactive มากขึ้น เนื่องจากพลังงานประเภทนี้จะโอเวอร์โหลดระบบด้วยประเภทของพลังงานที่ใช้ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่มันจำเป็นในการทำให้มอเตอร์และหม้อแปลงสามารถปฏิบัติการได้
โดยทั่วไป การปรับปรุงนี้ประกอบด้วยการตรวจสอบว่า มีมอเตอร์หรือหม้อแปลงที่ทำงาน “เปล่า ๆ” หรือมีขนาดใหญ่เกินไป โดยพลังงาน reactive มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการเมื่อมีโหลดสูงสุดและเกือบมีความจำเป็นเช่นเดียวกันสำหรับปฏิบัติการเมื่อมีโหลดต่ำ กล่าวคือ ถ้ามอเตอร์ทำงานเมื่อมีโหลดต่ำ มันจะใช้พลังงาน active น้อยลง แต่ปริมาณการใช้พลังงาน reactive ยังคงเท่ากับเมื่อมันทำงานเมื่อมีโหลดสูงสุด ทำให้เกิด Power factor ที่ต่ำ
มีหลายประเทศเริ่มต้นออกกฎหมายซึ่งบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคทำตามมาตรฐาน Power factor เช่นเดียวกับที่ได้เคยเรียกร้องให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ปฏิบัติตาม เมื่อเดือนมกราคม ปี 2001 สหภาพยุโรปเริ่มต้นต้องการให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่ขายในประเทศที่มีการใช้พลังงานเกิน 70 วัตต์จะต้องมีวงจรแก้ไข Power factor เพื่อที่ว่าจะใช้พลังงาน reactive ของระบบไฟฟ้าน้อยกว่าที่เป็นไปได้ มีการคาดหมายกันจากประเทศอื่น ๆ เช่นกันว่า พวกเขาจะเริ่มต้นใช้มาตรการเหมือนกัน
ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายที่ต้องการขายในยุโรปในปี 2001 จะต้องเริ่มต้นผลิตแหล่งจ่ายไฟที่มีวงจรแก้ไข Power factor หรือที่เรียกกันอย่างย่อว่า PFC (Power Factor Correction)
วงจร PFC มีสองแบบคือ passive และ active โดย passive PFC ใช้ส่วนประกอบซึ่งไม่ต้องมีการจ่ายไฟให้ (เช่นคอยล์แกนเฟอร์ไรต์) และมีค่า Power factor อยู่ระหว่าง 0.60 (60%) และ 0.80 (80%) ส่วน active PFC จะมีการออกแบบเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนกว่า หรืออาจจะใช้ไอซีสำเร็จรูป ทรานซิสเตอร์และไดโอด ตามที่ผู้ผลิตแต่ละรายออกแบบไว้ มันสามารถก่อให้เกิด Power factor เกิน 0.95 (95%) เมื่อเป็นเช่นนี้ภาคจ่ายไฟแบบทั่วๆ ไปที่ไม่มีวงจร PFC เลยจะมีค่า Power factor ต่ำกว่า 0.60 (60%)
PFC ไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและเป็นเรื่องเข้าใจผิดที่เราพบได้ในตลาดมากขึ้น วงจรนี้ไม่ได้ทำให้คอมพิวเตอร์ใช้ไฟฟ้าน้อยลงดังที่ได้อธิบายแล้ว หน้าที่ของ PFC คือป้องกันแหล่งจ่ายไฟจากการใช้พลังงาน reactive จากระบบไฟฟ้ามากขึ้น เป็นผลให้ใช้ได้พอเหมาะในระบบไฟฟ้า (อนุญาตให้การไฟฟ้าจัดหาพลังงาน active ได้มากขึ้น) การเสริมวงจรแบบนี้กระทำไปเพื่อทำตามที่กฎหมายกำหนดโดยไม่คำนึงถึงการบริโภคไฟฟ้า (โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป) ในขณะที่การยอมรับกฎหมายเดียวกันมีแนวโน้มเกิดขึ้นในประเทศอื่น ผู้ผลิตกำลังเตรียมการในการผลิตแหล่งจ่ายไฟที่ประกอบด้วยวงจรแบบนี้
ว่ากันตามตรง การมีหรือไม่มี PFC ไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ผู้บริโภคทั่วไป เอาเป็นว่าแหล่งจ่ายไฟกับวงจรแบบนี้ค่อนข้างเป็นความเคลื่อนไหวทางการตลาดของผู้ผลิตแหล่งจ่ายไฟที่ชักชวนให้ลูกค้าซื้อแหล่งจ่ายไฟที่แพงกว่า ทั้งที่จริงแล้ว แหล่งจ่ายไฟแบบนี้ให้ประโยชน์แก่การไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้เกิดความจำเป็นในการจัดหาพลังงาน reactive ซึ่งโอเวอร์โหลดระบบอยู่น้อยลง แต่สำหรับผู้บริโภคทั่วไปแล้ว ไม่มีความแตกต่าง เพราะว่า อย่างน้อยที่สุดในเวลานี้ เราไม่ได้ถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มในกรณีที่ใช้พลังงาน reactive เกินค่าที่ตั้งไว้ดังที่เกิดขึ้นกับลูกค้าอุตสาหกรรม
แต่ถ้ามองด้วยความเชื่อมโยงกันในโลกปัจจุบันไม่ว่าการลดการใช้พลังงานหรือการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมันก็เท่ากับว่าเราใช้ทรัพยากรที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่า และถ้าอธิบายกับแบบละเอียดจริงๆ เรื่องนี้มันสามารถจะโยงใยไปถึงเรื่องการลดภาวะโลกร้อนได้เลยทีเดียว
พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนก็ยังอาจจะคิดว่าการที่พาวเวอร์ซัพพลายมีค่า Power Factor เข้าใกล้ 1 มากๆ นั้นจะช่วยให้ลดการใช้ไฟฟ้าหมายถึงลดค่าไฟด้วยใช้หรือไม่ คำตอบคือใช่ แต่มันนิดเดียว ตัวสำคัญจริงๆ ที่จะทำให้การใช้ไฟอย่างประหยัดและคุ้มค่าก็คือ ประสิทธิภาพในการจ่ายไฟของพาวเวอร์ซัพพลาย จำเรื่องที่เราบอกไปว่าพาวเวอร์ซัพลายส่วนใหญ่จ่ายไฟได้ไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ได้ไหม นี่แหละเจ้าสิ่งนี้แหละคือประเด็น
www.80plus.org ชมรมพาวเวอร์ซัพพลายประสิทธิภาพสูง
อย่างที่บอกไปว่าโดยทั่วไปแล้วพาวเวอร์ซัพพลายจะจ่ายพลังงานจริงๆ ได้เพียง 65 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ เท่านั้นเอง หรือพูดง่ายๆ ก็คือพาเวอร์ซัพพลาย 100 วัตต์ อาจจะจ่ายพลังงานได้เพียง 65 วัตต์ หรือ 70 วัตต์ เท่านั้น ถ้าเรานำพาเวอร์ซัพพลาย 100 วัตต์ ตัวนี้ไปต่อให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ตัวนั้นก็อาจจะทำงานไม่ได้ หรือทำงานได้ไม่เต็มที่
เมื่อมีปัญหานี้เกิดขึ้นมาโดยเฉพาะในช่วงสามปีมานี้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการในการใช้พลังงานที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่พาวเวอร์ซัพพลายส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้อย่างเพียงพอ เพราะการบอกจำนวนวัตต์บนตัวพาวเวอร์ซัพพลายมันเป็นวัตต์ที่จ่ายได้สูงสุดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช้การจ่ายพลังงานได้ในแบบต่อเนื่อง
ในปี 2004 ได้มีการริเริ่มแนวความคิดเรื่องการจัดตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไรอย่าง 80 Plus ขึ้นมาเพื่อให้มีการกำหนดมาตรฐานของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมของพาวเวอร์ซัพพลาย ไม่ว่าจะเป็นพาวเวอร์ซัพพลายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ หรือพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างก็ให้ความสนใจและเข้าร่วมกับ 80 Plus กันอย่างมากมาย
นอกจากนี้แล้วในปี 2006 Energy Star ซึ่งเป็นโครงการของหน่วยงานด้านการป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมของอเมริกาก็ได้มีการเพิ่มเติมคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะได้รับการรองรับมาตรฐาน Energy Star 4.0 จะต้องใช้พาเวอร์ซัพพลายที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานของ 80 Plus ด้วย เมื่อเป็นแบบนี้จึงทำให้ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายจำนวนมากทำการผลิตพาวเวอร์ซัพพลายเพื่อให้ผ่านมาตรฐานของ 80 Plus มากยิ่งขึ้น
ใบรับรองของหรือมาตรฐานของ 80 Plus เองก็มีอยู่ด้วยกันถึง 4 ระดับ ได้แก่ 80 Plus E-Star 4.0, 80 Plus Bronze, 80 Plus Silver และ 80 Plus Gold

LOAD20%50%100%
80 Plus E-Star 4.080%80%80%
80 Plus Bronze82%85%82%
80 Plus Silver85%88%85%
80 Plus Gold87%90%87%

ตารางที่ 4 มาตรฐานต่างๆ ของ 80 PLUS จะเห็นได้ว่าไม่ว่าสภาวะของโหลดจะมากน้อยขนาดไหน พาวเวอร์ซัพพลายก็ควรจะจ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่องโดยมีการสูญเสียของพลังงานไม่เกิน 20%
clip_image023
รูปโลโกของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก 80 Plus
เมื่อเป็นอย่างนี้ถ้าเราไม่มีความรู้อะไรเลยอย่างน้อยๆ เราก็ควรจะเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 80 PLUS อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็คงจะเป็น 80 PLUS E-Star 4.0 อันนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะถ้าทางผู้ผลิตออกแบบให้พาวเวอร์ซัพพลายทำงานได้ตามมาตรฐานของ 80 PLUS ในระดับ GOLD แล้วละก็พาวเวอร์ซัพพลายเองก็มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย และพอราคาสูงขึ้นมันก็หาคนที่มาซื้อใช้งานขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

อุปกรณ์จำนวนวัตต์ที่ใช้
Motherboard15-30
Low-end CPU20-50
Midrange to high-end CPU40-100
RAM2-3 วัตต์ ต่อ 512MB
PCI add-in card5
Low to midrange Graphics Card20-60
High-End Graphics Card60-100
Hard disk drive10-30
Optical drives10-25
Case Fan1-5

ตารางที่ 4 การใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ โดยประมาณ มีหน่วยเป็นวัตต์

จำแนกการใช้พลังงาน
บางคนอาจบอกให้คุณบวกตัวเลขวัตต์ของชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งหมดที่อยู่ในพีซีเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่นซีพียูใช้ไฟ 87.5W เมนบอร์ดใช้ไฟ 23.5W ดังนั้นในตอนนี้คุณจึงต้องการใช้ไฟอย่างน้อย 111W ถ้าหากคุณบวกตัวเลขที่เหลือทั้งหมด คุณก็น่าจะทราบวัตต์ที่ต้องการได้แล้ว ปัญหาก็คือพาวเวอร์ซัพพลายไม่ได้ใช้ตัวจ่ายพลังงานที่เท่ากันหมดทุกช่องทาง อัตราการใช้ไฟ 87W ของซีพียูจะไม่มีความหมายใดๆ ถ้าหากคุณไม่ทราบว่าไฟ 87.5W มาจากไหน นั่นก็คือซีพียูได้ไฟมาจากชุดจ่ายไฟแบบ +5V หรือ +12V กันแน่ เพราะอย่างที่บอกไปในตอนต้นๆ ของบทความแล้วว่าเราต้องดูจำนวนวัตต์ที่ใช้ตามความสามารถของการจ่ายไฟแต่ละชุด ไม่ใช้วัตต์รวมของพาวเวอร์ซัพพลาย
ซีพียูในยุคเพนเทียมทรี และซีพียูทั้งหมดก่อนหน้านั้นใช้ไฟ +5V การที่ซีพียูเป็นตัวกินไฟมากที่สุดในพีซีแบบ x86 ดังนั้นพาวเวอร์ซัพพลายจึงต้องกระแส (Amp) ให้กับชุด +5V ในปริมาณที่มากพอ ส่วนซีพียูรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ยุคของ Intel Pentium 4 และ AMD Athlon ซีพียูเหล่านี้จะใช้พลังงานจากชุดจ่ายไฟ +12V ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ซีพียูของเรามีเสถียรภาพในการทำงาน รวมก็ควรจะไปทำการรวมอุปกรณ์ทั้งหมดว่าใช้ไฟ +12V กี่วัตต์ ใช้ +5V กี่วัตต์ +3.3V กี่วัตต์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
ในตารางที่ 5 เราได้พยายามรวบรวมข้อมูลของการใช้กระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ มาไว้ให้ดู โดยข้อมูลเหล่านี้เราพยายามเลือกค่าสูงสุดที่อุปกรณ์แต่ละตัวใช้งานเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปคำนวณ อุปกรณ์บางตัวอาจจะใช้ไฟมากกว่าหนึ่งชุด อย่างเช่นกราฟิกการ์ดประสิทธิภาพสูงที่ต้องการไฟ +12V เพิ่มเติมอย่างชัดเจน แต่เราก็ไม่มีข้อมูลว่าต้องการไฟ +3.3V และ +5V เท่าไหร่ ซึ่งเวลาเราคำนวณจริงๆ เราอาจจะต้องเผื่อค่าสำหรับความไม่รู้ตรงนี้ไว้อย่างน้อยๆ 10%
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์อย่างฮาร์ดดิสก์ และออปติคอลไดร์ฟทั้งหลายถือเป็นตัวอย่างที่ดีเพราะบนตัวอุปกรณ์จะบอกให้เราทราบเลยว่าใช้ไฟ +5V กี่แอมป์ ใช้ไฟ +12V ที่แอมป์ทำให้เราสามารถคำนวณตรงกับอุปกรณ์ที่เราใช้งานจริงได้ แต่สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ มีความพยายามที่จะเรียกร้องให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านั้นบอกไว้ด้วยว่าต้องการใช้ไฟขนาดกี่โวลต์กี่แอมป์ แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้รับการตอบสนอง อย่างดีก็บอกแค่ว่าใช้กับไฟกี่โวลต์ หรืออุปกรณ์ตัวนั้นๆ ใช้ไฟกี่วัตต์เท่านั้นเอง

อัตราการใช้กระแสไฟฟ้า (ค่าโดยประมาณ)
+3.3V+5V+12VDevice
n/an/a5ACPU – Low end
n/an/a10ACPU – High end
3A2A0.5AMotherboard ที่มี Sound, LAN
000.25Aพัดลมระบายความร้อน (รวมถึงพัดลมในตัวพาวเวอร์ซัพพลายด้วย)
0.5A0Memory / 512MB DDR
3An/a2AGraphics Card – Normal
n/an/a10AGraphics Card – High Performance
0.5A0.7A0PCI Sound
0.4A0.4A0PCI Network Card
00.6A0.7AHard Disk
01.2A1.2ADVD-Writer
01.5A1.5ABlue-ray Drive
00.8A0Floppy
00.5A0USB devices
00.25A0Keyboard
00.25A0Mouse
00.50PCI Modem
01.60FireWire

ตารางที่ 5 ข้อมูลการใช้พลังงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยประมาณ

ชุดจ่ายไฟ3.3V5V12V
CPU8
MAINBOARD320.5
RAM 1 GB # 11
RAM 1 GB # 21
Graphic Card10
HDD #10.60.7
HDD #20.60.7
DVD-Writer1.21.2
Mouse USB0.5
Keyboard USB0.5
FAN #10.25
FAN #20.25
FAN #30.25
รวมการใช้กระแส (Amps)37.421.85
รวมการใช้พลังงาน (Watts)9.937262.2
รวมวัตต์ทั้งหมด309.1

ตารางที่ 6 ตัวอย่างการคำนวณหาการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ค่าตัวเลขที่ใส่ในตารางคือค่าของการใช้กระแสไฟฟ้าจากชุดจ่ายไฟ +3.3V +5V และ +12V
จากตัวอย่างที่ 6 ถ้าเรานำข้อมูลมาพิจารณา เราก็ต้องไปหาซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่สามารถจ่ายไฟ +3.3 V ได้ 3 แอมป์ จ่ายไฟ +5V ได้ 7.4 A จ่ายไฟ +12V ได้ 21.85 แอมป์ แต่ในความเป็นจริงชุดจ่ายไฟ +3.3V กับ +5V นั้นจะใช้วงจรชุดเดียวกันดังนั้นคุณจะต้องดูพาวเวอร์ซัพพลายที่จ่ายไฟ +3.3V และ +5V ที่ระดับไม่น้อยกว่า 10A อย่างไรก็ดีนี่เป็นการคำนวณโดยประมาณเท่านั้น เพราะค่าการใช้กระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์บางตัวเราไม่มีข้อมูลอย่างครบถ้วน แต่อย่างน้อยมันก็พอทำให้เรามองเห็นภาพโดยประมาณว่าควรจะซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณสมบัติอย่างไร
เลือกซื้อแบบง่ายๆ
ที่บอกมาทั้งหมดนั้นมันอาจจะดูเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากเกินกว่าจะใช้เวลาอันสันในการทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามมันก็มีวิธีเลือกซื้อในทางปฏิบัติมาแนะนำบ้างอยู่เหมือนกัน
1. พาวเวอร์ซัพพลายที่ซื้อควรจะเป็นมาตรฐาน ATX 2.x
2. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับเมนบอร์ดแบบ 24 pin หรือแบบ 20+4 pin
3. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ 4 pin อย่างน้อย 1 เส้น หรือถ้าคอมพิวเตอร์เราเป็นแบบประสิทธิภาพสูงเช่นต้องการใช้กับซีพียูแบบ Quad-Core ก็ให้เลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มี AUX 12 โวลต์แบบ 8 pin หรือถ้าจะให้ดีมันมีพาวเวอร์ซัพพลายบางรุ่นจะมีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ แบบ 4+4 ให้ใช้ ก็น่าสนใจ หมายถึงเป็นแบบ 4 pin สองตัวประกบกันเป็น 8 pin และแยกกันได้เมื่อต้องการใช้แบบ 4 pin
4. ควรเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับฮาร์ดดิสก์หรือออปติคอลไดร์ฟแบบ SATA อย่างน้อย 4 ชุด ถ้ามากกว่าได้ก็ยิ่งดี
5. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดพลังสูงก็มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ที่เรียกว่า PCI-E ซึ่งจะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ 6 pin อย่างน้อยหนึ่งเส้น แต่ถ้าจะให้ดีก็ดูรุ่นที่มันมี PCI-E 6 pin อย่างน้อยสักสองเส้นจะดีที่สุด
6. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดแบบ SLI หรือแบบ CrossFire ก็ให้มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีโลโก้ประเภท SLI Ready หรือ CrossFire Ready เอาไว้ได้เลย เพราะกราฟิกการ์ดพวกนี้จะต้องใช้พลังงานที่สูง
7. เลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ตัวสุดท้าย โดยคุณควรจะทำการดูคู่มือของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นก่อนว่าต้องการแรงดันไฟแต่ละแบบเป็นอย่าไร แล้วลองใช้วิธีคำนวณตามตัวอย่างตารางที่ 6 หรือถ้าขี้เกียจจริงๆ ก็ให้ลองสำรวจดูว่าคู่มือที่เราอ่านมานั้นมีอุปกรณ์ตัวไหนที่บอกว่าต้องใช้พาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์ เท่าที่ลองใช้วิธีนี้ เราพบว่ากราฟิกการ์ดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเลือกพาวเวอร์ซัพลายได้ดีที่สุด เพราะในคู่มือของกราฟิกการ์ดจะบอกเลยว่าควรจะใช้กับพาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์

ข้อมูลจากhttp://www.oknation.net/blog/ta2531/2009/06/24/entry-3

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อ Hard Disk ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive)

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบกระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE) มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน ทำให้อุตสาหกรรม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบันและอนาคต เพราะเทคโนโลยี Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ท่านจะได้รับจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปเต็มๆ
ส่วนประกอบของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter) ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วยว่าได้มีการ กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจานดิสก์ (Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 และ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ในส่วนของลักษณะการอ่านเขียนข้อมูลภายในไดรฟ์นั้น จะมีสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือหัวอ่านเขียน (Read/Write Head) โดยหัวอ่านเขียนจะมี จำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนจานดิสก์ด้วย สำหรับหัวอ่านเขียนข้อมูลนั้นเป็นอุปกรณ์ที่จะเคลื่อนที่ไปบนจานดิสก์ โดยจะเว้นระยะห่างระหว่าง หัวอ่านเขียนกับจานดิสก์อย่างคงที่ ซึ่งหาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้รับการกระทบกระเทือนจนระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนกับจานดิสก์ผิดเพี้ยนไป จะทำให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไม่ สามารถทำงานได้เลย แตปัจจุบัน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นใหม่ๆจึงได้มีการออกแบบจุดพักหัวอ่านเขียนไว้ด้านข้างเพื่อกันการทระแทกบนจานดิสก์ นอกจากนี้ ด้านหลังของตัวไดรฟ์ยังประกอบไปด้วย อินเทอร์เฟซ (Interface) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับส่ายสัญญาณประเภทต่างๆ แบ่งได้ตาม ชนิดของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เช่น Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบติดตั้งภายในมีอินเทอร์เฟซ IDE, SCSI และ Serial ATA และ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบติดตั้งภายนอกมักมีอินเทอร์เฟซแบบ USB และ Firewire ซึ่งทั้งสองแบบนั้นจำต้องมีช่องสำหรับต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเพื่ออาศัยพลังงานในการหล่อเลี้ยอยู่เสมอด้วย
ชนิดของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบ่งตามการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ)
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว 

วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ E-IDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ทั้งPIO และ DMA

โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก เห็นได้ชัดเลยว่าการทำงานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับซีพียู ดังนั้นจึงไม่เหมาะในลักษณะงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) บ่อยครั้งหรือการทำงานหลายๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment ซึ่งการที่ต้องเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) บ่อยครั้ง จะทำให้ความสามารถในการทำงานโดยรวมของระบบต่ำลง
โหมด DMA  (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ประโยชน์ของการใช้ DMA ก็น่าจะเห็นได้ชัดเจน เพราะเมื่อซีพียูสามารถมุ่งมั่นกับงานของตนเองให้เสร็จโดยไม่ต้องพะวงว่าจะถูกสะกิดรบกวนจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ให้ช่วยทำงาน ก็สามารถทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ระบบโดยรวมมีความเร็วสูงขึ้นตามไปด้วย
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI (สะกัสซี่) เป็น Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับความสามารถของการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ด้วยกัน ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI จะมีความเร็วสูงสุดถึง 320 เมกะไบต์/วินาที รวมถึงกำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์อย่างต่ำก็หลักหมื่นโดยปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE อยู่เยอะ ส่งผลให้ราคานั้นย่อมที่จะแพงเป็นธรรมดา โดยส่วนใหญ่จะนำ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI มาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
4. แบบ Serial ATA
       เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และอีกไม่นานจะพลัดใบเข้าสู่ความเป็น Serial ATA II ซึ่งเมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เริ่มเจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่พัฒนาอย่างไรก็ไม่ทัน SCSI ซะที และอีกสาเหตุมาจากสายแพแบบ Parallel ATA เพื่อการส่งผ่านข้อมูลนั้นมีขนาดความกว้างถึง 2 นิ้ว และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ตอนนี้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ก็เริ่มเจอทางตันแล้วเหมือนกัน เมื่ออัตราความเร็วในปัจจุบันทำได้สูงสุดเพียงระดับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิต Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ต่างพากันหันมาให้ความสนใจเทคโนโลยีต่อเชื่อมรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA กันเป็นแถว โดยให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์ต่อวินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้พัฒนา Serial ATA ซึ่งได้เผยข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับ Serial ATA 1.0 ขึ้น ด้วยคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่นๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย
        และด้วยการพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัว Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ลงได้ โดยสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วของระบบที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ สำหรับการเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) ในอนาคต นอกจากนี้ Serial ATA ยังแตกต่างจากฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนานอย่างชัดเจน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ฮาร์ดไดรฟ์ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดได้เลย ลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไปได้มาก อีกทั้ง Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน


ทำไมจึงต้อง Serial ATA 
       ประสิทธิภาพของการถ่ายโอนข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากอินเทอร์เฟซที่บ่งบอกจุดต่างของค่าความเร็วได้ดี ตั้งแต่ USB, Parallel ATA, Serial ATA และ SCSI ด้วยสมรรถภาพความเร็วที่แกร่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งการใช้งาน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) บนพีซีหรือเครื่องเวิร์คสเตชั่นมักมองอินเทอร์เฟซ Parallel ATA และ Serial ATA เป็นสำคัญ แต่ ณ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อ Parallel ATA จะถูกแทนที่ด้วย Serial ATA ด้วยเหตุผลที่เป็นปัญหาคอขวดอยู่นั้นก็คือมาตรฐานความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลบนคอนโทรลเลอร์ขนาด 40 พิน แม้จะสามารถทำเส้นทางรับ-ส่งเป็น 80 เส้นความเร็วก็ทำได้ไม่เกิน 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ Serial ATA ที่มากับขนาดของสายรับ-ส่งสัญญาณที่น้อยนิดเพียง 7 พิน พร้อมอัตราเร็วขั้นต้นของ Serial ATA ในเฟซแรกที่ 1.5 กิกะบิตต่อวินาที และสิ่งที่จะมาบดบังรัศมีของ Parallel ATA อย่างเต็มตัวก็คืออีกศักยภาพของ Serial ATA ด้วย Serial ATA II กับมาตรฐานความเร็ว 3.0 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งแรงขึ้นอีกเท่าตัว โดยก่อนหน้าที่จะกำเนิด Serial ATA II แบบเต็มตัวนั้นสิ่งที่มาก่อนก็คือการรองรับเทคโนโลยี Native Command Queuing หรือ NCQ ที่มีเฉพาะ Serial ATA เท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ได้จากเทคโนโลยี NCQ ก็คือความรวดเร็วในการเรียงชุดคำสั่งแบบใหม่ที่เลือกคำสั่งที่ใกล้ก่อนทำให้สมรรถภาพการทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) และระบบเร็วขึ้น (ทำงานคล้ายลิฟท์)
ความแตกต่างของ Parallel ATA และ Serial ATA 

       สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่มีการเชื่อมต่อบนมาตรฐาน Parallel ATA นั้นโดยปกติแล้วถูกออกแบบในสถาปัตยกรรมแบบเก่าที่ออกแบบเหมือนกับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นก่อนๆ สืบทอดกันมา เพียงแต่ปรับเปลี่ยนการทำงานอาทิ ความเร็วรอบการหมุนจานดิสก์ของมอเตอร์จาก 3200 รอบต่อนาที มาเป็น 5400 รอบต่อนาที และจาก 5400 รอบต่อนาที มาเป็น 7200 รอบต่อนาที ปรับเปลี่ยนการส่งข้อมูลจาก PIO มาเป็น DMA และ Ultra DMA โดย DMA ในที่นี้หมายถึงระบบการถ่ายโอนข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่แต่ละครั้งสามารถบรรทุกข้อมูลจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปสู่แรมได้เลยโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวการทำงานของซีพียู ทำให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า PIO เพราะ PIO นั้นการถ่ายโอนข้อมูลในแต่ละครั้งจำต้องผ่านการประมวลผลจากซีพียูเสียก่อน ส่งผลให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมีความล่าช้ามาก
นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนสายแพจาก 40 เส้น มาเป็น 80 เส้นปรับมาตรฐานจาก IDE ไปสู่ระบบ E-IDE ซึ่งให้ค่าทางประสิทธิภาพการทำงานที่มากกว่าเดิม การปรับเปลี่ยนดังกล่าวสามารถที่จะทำให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ทำงานได้เร็วขึ้นก็จริงอยู่ แต่เมื่อมานั่งพิจารณาดูแล้วการทำงานที่ยังยึดมั่นอยู่กับสถาปัตยกรรมแบบเก่าบนมาตรฐาน Parallel ATA มักทำให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ E-IDE ยังห่างไกลจากระบบของ SCSI ของระบบเครือข่ายอยู่ดี อีกทั้งการพัฒนาของระบบ E-IDE ยังเป็นปัญหาคอขวดที่ไม่สามารถพัฒนาให้เร็วพอได้ เช่น 33 เมกะไบต์ต่อวินาที, 66 เมกะไบต์ต่อวินาที, 100 เมกะไบต์ต่อวินาที, 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้นต่างกันไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการถ่ายโอนข้อมูลแบบ SCSI ที่เป็นแบบ Ultra160 เมกะไบต์ต่อวินาที, Ultra 320 เมกะไบต์ต่อวินาที ดังนั้นบริษัทผู้ผลิต Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ทั้งหลายจึงได้คิดค้นที่จะทำการปรับเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า Serial ATA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการถ่ายโอนข้อมูล
การส่งข้อมูลแบบ Parallel ATA
0------------>
0------------>
0------------>
0------------>
1------------>
0------------>
1------------>
1------------>
การส่งข้อมูลแบบ Parallel ATA นั้นจะส่งข้อมูลในแต่ละบิตแบบขนานกันไปแล้วนำข้อมูลที่ได้ในแต่ละสายสัญญาณมารวมกันเป็น (0 0 0 0 1 0 1 1 ) ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลในระบบแบบเก่าจนถึงปัจจุบันที่ก็ยังเป็นแบบ IDE และ E-IDE โดยใช้สายนำสัญญาณแบบ 40 เส้นและ 80 เส้น
การส่งข้อมูลแบบ Serial ATA
0 0 0 0 1 0 1 1 ------>
0 0 0 0 1 0 1 1 ------>
หากเป็นการส่งข้อมูลในแบบ Serial ATA ที่มีความเร็วตีคู่ SCSI โดยใช้สายสัญญาณ 7 เส้น ช่วยให้ระบบการทำงานสามารถที่จะเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลได้มากถึง 1.5 กิกะบิตต่อวินาที และต่อไปความเร็วจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 3.0 กิกะบิตต่อวินาที หรือมากกว่าในอนาคต อีกทั้งในปัจจุบันอินเทอร์เฟซนี้ยังแฝงไว้ด้วยเทคโนโลยี NCQ ที่ช่วยให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ฉลาดขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลเพราะส่งต่อกันเป็นทอดๆ โดยหากเป็นข้อมูลชุดเดียวกันจะเข้าหาก่อนโดยไม่สนใจเรื่องคิวรันกันต่อเนื่อง จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้เลยว่า คุณสมบัติของอินเทอร์เฟซ Serial ATA นั้นมีการทำงานที่เร็วกว่า Parallel ATA อีกทั้งต่อไปอินเทอร์เฟซนี้จะเป็นแกนหลักบนเมนบอร์ดแทนที่ IDEและ E-IDE ซึ่งเหมาะสมทั้งการใช้งานบนเครื่อง PC และ ระบบเครือข่ายขนาดย่อมที่มีงบประมาณไม่มาก หากคุณได้ลองสัมผัสดูแล้วจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปครับ
เทคโนโลยี Native Command Queuing (NCQ)
       สำหรับอินเทอร์เฟซ Serial ATA จัดเป็นเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงและกำลังจะกลายเป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานบน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ของพีซีในปี 2005 ซึ่งเทคโนโลยี Native Command Queuing เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในกระบวนการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ปี 2005 ด้วยเช่นกัน
โดยเทคโนโลยี NCQ จะช่วยให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดร์ฟมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ด้วยความสามารถในการปรับปรุงและจัดเรียงชุดคำสั่งใหม่ทั้งในกระบวนการอ่านและบันทึกข้อมูล เพื่อให้ไดรฟ์มีความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด สมมติว่าข้อมูลชุดเดียวกันมีการกระจายข้อมูลอยู่เต็ม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปหมด การเรียกใช้งานจึงเริ่มจาก 4 – 3 – 2 และ 1 ทำให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมาจนครบมักเกิดความล้าช้าไปพอสมควร แต่ถ้าหาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) Serial ATA ตัวนั้นมีเทคโนโลยี NCQ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฟสแรกของ Serial ATA II และสามารถใช้งานร่วมกับ Serial ATA 1.0 ได้ กระบวนการทำงานจะมองว่าหากข้อมูลชุดนั้นเป็นชุดเดียวกัน จะรวมเอาจุดที่ใกล้กันไว้ก่อนโดยตัดลำดับความน่าจะเป็นออกไป ทำให้ว่องไวต่อการเรียกใช้งานมากขึ้น
จากที่กล่าวมาเป็นความแตกต่างระหว่างอินเทอร์เฟซ ซึ่งในการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์เราจะเลือกเพียงแค่จุดนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องมององค์ประกอบทางด้านอื่นๆด้วย อันได้แก่
ขนาดความจุของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) 
เรื่องขนาดความจุของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) นี้ค่อนข้างตัดสินใจได้ง่าย ซึ่งมีตัวเลขที่ระบุไว้ตามลาเบลไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันขนาดความจุที่มีจำหน่ายกันอยู่ที่ ระดับกิกะไบต์ เช่น 20, 30, 40, 60 ไปจนถึง 400 กิกะไบต์ แน่นอนเมื่อปริมาณความจุที่สูงขึ้นย่อมส่งผลให้ราคาต้องขยับตัวสูงตามไปด้วย สำหรับขนาดที่ ควรจะซื้อหามาใช้ในปัจจุบัน ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และไม่ควรเพื่อพื้นที่ไว้ใช้งานมากจนเกินจำเป็น เพื่อประหยัดงบประมาณในกระเป๋าท่าน ได้อีกทางและสามารถที่จะใช้พื้นที่บน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้อย่างคุ่มค้าอีกด้วย
ความเร็วรอบ
ความเร็วรอบสำคัญไฉนสิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนก็คือการหมุนของวงล้อรถหากซอยถี่มากเท่าใด จะย่นระยะเวลาไปยังจุดหมายปลายทางมากขึ้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกันกับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่เมื่อความเร็วรอบยิ่งถี่เพียงใด จะทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงหรือค้นหาข้อมูลมีความรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันความเร็วรอบในการหมุนจานดิสก์มมาตรฐานพีซีและแล็บท็อปส่วนใหญ่มาอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (3.5 นิ้ว) และ5,400 รอบต่อนาที (2.5 นิ้ว) นอกจากนี้การใช้งานที่สูงขึ้นไปอีกในระดับเอ็นเทอร์ไพช์อย่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชั่น ความเร็วรอบในการหมุนที่จัดจ้านถึงระดับ 10,000 - 15,000 รอบต่อนาที ดูจะเหมาะกว่า เนื่องจากการใช้งานระดับการเข้าถึงและเรียกใช้มีความสำคัญมาก
หน่วยความจำบัฟเฟอร์
อีกวิธีที่ผู้ผลิต Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบัน คือการใช้หน่วยความจำแคช หรือบัฟเฟอร์ (Buffer) เพื่อเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยัง คอนโทรลเลอร์บนการ์ด หรือเมนบอร์ด สำหรับหน่วยความจำแคชที่ว่านี้จะทำงานร่วมกับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) โดยในกรณีอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูลจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปหรือมีการเรียกใช้งานบ่อยครั้ง มาเก็บไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีบันทึกข้อมูล ก็จะรับข้อมูลมาก่อน เพื่อเตรียมที่จะเขียนลงไปทันทีที่ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ว่าง แต่ทั้งหมดนี้จะทำอยู่ภายในตัว Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับซีพียูหรือแรมแต่อย่างใด หน่วยความจำแคชนี้ใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นเก่าๆ ราคาที่ถูกมักจะมีขนาดหน่วยความจำเล็กตามลงไป เช่น 128 กิโลไบต์ หรือบางยี่ห้อก็จะมีขนาด 256-512 กิโลไบต์ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมา(ปัจจุบันนิยม) จะมีการเพิ่มจำนวนหน่วยความจำนี้เป็น 2 เมกะไบต์ไปจนถึง 8 เมกะไบต์ เลยทีเดียว ซึ่งจากการทดสอบพบว่า การมีขนาดหน่วยความจำแคช หรือ บัฟเฟอร์ที่เพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยให้การทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้กลไกการทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นนั้นๆ จะช้ากว่าก็ตาม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของโปรแกรมที่มีการเรียกใช้งานด้วยว่ามีการดึงทรัพยากรของระบบมากน้อยเพียงไร
การรับประกัน
อย่าลืมว่า Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานตลอดเวลาที่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีการเคลื่อนไหวต่างๆมากมายอยู่ภายในไดรฟ์และโอกาสที่จะเสียหายมีได้มาก โดยเฉพาะเรื่องของความร้อนและการระบายความร้อนที่ไม่ดีในเครื่อง ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียหาย นอกจากนี้การเกิดกระแทกแรงๆ ก็เป็นสาเหตุหลักของการเสียหายที่พบได้บ่อยครั้ง ดังนั้น ปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญในการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) คือ เรื่องระยะเวลาใน การรับประกัน สินค้า และระยะเวลาในการส่งเคลม โดยสังเกตจาก Void รับประกัน ซึ่งห้ามแกะออกเป็นเด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจทำให้ท่านเสียใจเพราะส่งเคลมไม่ได้
โดยทั่วไปแล้ว Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันอยู่ในช่วง 1 หรือ 3 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีผู้ผลิตบางราย เช่น Seagate ปรับเปลี่ยนระยะเวลาโดยขยายเป็น 5 ปี จุดนี้ก็เป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่มีให้ผู้ใช้อุ่นใจ ดังนั้นการเลือกซื้อควรเลือกระยะเวลารับประกันนานหน่อยเพราะคุ้มค่ากว่าการซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) มาเปลี่ยนใหม่ เนื่องจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่เราจะนำใช้งานนั้น หาความแน่นอนไม่ได้ วันดีคืนดีHard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เจ้ากรรมอาจเสียลงไปดื้อๆ หากแต่ว่า Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ของท่านยังอยู่ในช่วงรับประกันก็ยังอุ่นใจได้ เพราะสามารถส่งซ่อมหรือแลกเปลี่ยนได้ แต่การรับประกันจะไร้ค่าลงไปทันทีเมื่อสัญลักษณ์ของการรับประกันฉีกขาด หรือถูก ลอกออกไป ฉะนั้นควรระมัดระวังไว้ด้วย การรับประกันในที่นี้ก็อาจจะต้องดูด้วยนะครับว่าเป็นการรับประกันจากที่ไหน จากร้านค้า หรือว่าจากดีลเลอร์ต่างๆ โดยจุดนี้ให้ดูถึงความมั่นคงของร้านด้วย ซึ่งถ้าหากร้านเกิดปิดกิจการไปล่ะยุ่งเลยเพราะไม่สามารถที่จะส่งคืนได้
       จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเทคนิคการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ ที่แม้ไม่ใช้มืออาชีพแต่ก็ได้เรียนรู้ว่าต้องดูอะไรบ้างในการเลือกซื้อทำให้แนวทางในการเลือกซื้อดูสดใสขึ้นครับ ทว่า Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่เลือกซื้อโดยส่วนใหญ่นั้นเป็น OEM จึงไม่ต้องสนใจกับสิ่งที่แถมมามากนัก(เพราะมันไม่มีมาให้นอกจากไดรฟฺ์เปล่าๆ) นอกจากจำชื่อร้านและตัวแทนจำหน่ายที่จำหน่ายสินค้าให้กับเราไว้ให้ดีเท่านั้น เผื่อมีการติดต่อเมื่อมาส่งเคลมหรือเปลี่ยนสินค้าในภายหลังค่ะ
แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น moduleเทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น


SDRAM

รูปแสดง SDRAM
อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน

DDR - RAM



รูปแสดง DDR - SDRAM

หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ
ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน

Rambus

รูปแสดง Rambus

Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz
วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว
แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM

สัญญาณนาฬิกา 

DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น
ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X
หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้

การเรียกชื่อ RAM 

Rambus ซึ่งใช้เรียกชื่อรุ่นหน่วยความจำของตัวเองว่า PC600, PC700 และ ทำให้ DDR-SDRAM เปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อหน่วยความจำไปเช่นกัน คือแทนที่จะเรียกตามความถี่ของหน่วยความจำว่าเป็น PC200 (PC100 DDR) หรือ PC266 (PC133 DDR) กลับเปลี่ยนเป็น PC1600 และ PC2100 ซึ่งชื่อนี้ก็มีที่มาจากอัตราการขนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่หน่วยความจำรุ่นนั้นสามารถทำได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM แล้ว PC1600 ก็คือ PC100 MHz DDR และ PC2100 ก็คือ PC133 MHz DDR เพราะหน่วยความจำที่มีบัส 64 บิต หรือ 8 ไบต์ และมีอัตราการขนถ่ายข้อมูล 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็จะต้องมีความถี่อยู่ที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 200 = 1600) หรือถ้ามีแบนด์วิดธ์ที่ 2100 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็ต้องมีความถี่อยู่ที่ 266 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 266 = 2100)

อนาคตของ RAM 

บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAM

แนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่นกัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด
ข้อมูลจาก www.dcomputer.com

ชนิดของเมนบอร์ด

ชนิดของเมนบอร์ด


 สามารถแบ่งเมนบอร์ดออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือเมนบอร์ดแบ่งตาม
โครงสร้างและเมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู
เมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้าง

 เมนบอร์แบ่งตามโครงาร้างเรียกว่า Form Factors หมายถึง การจำแนก
เมนบอร์ดเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้าง ขนาดและรูปร่าง ตามมาตรฐานแล้วจะ
มีแบบ AT และ ATX แต่ทั้งนี้เมนบอร์ดแบบATXก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายรูปแบบ
ได้แก่ Micro ATX และ Flex ATX ซึ่งแต่ละแบบมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป

                      
      เมนบอร์ดแบบ AT                เมนบอร์ดแบบ ATX
ชนิดเมนบอร์ดลักษณะโครงสร้าง
AT
เป็นเมนบอร์ดที่มีความกว้างและยาวใกล้เคียงกันจึงมีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่สิ่งที่ทำให้
เมนบอร์ดแบบนี้ต่างจากแบบATXคือขั้วรับไฟจะมีเพียง12 ขาต่างจากแบบ ATX จะมีขั้วรับไฟ
20 ขา ดังนั้นเมนบอร์ดชนิดนี้จึงต้องใช้กับแคสที่เป็นเมนบอร์ดแบบ AT ด้วยเช่นกันโดยทั่วไป
เมนบอร์ดแบบนี้จะถูกกว่าแบบATX เล็กน้อยการปิดเครื่องผ่านแบบนี้ใช้สวิทส์เป็นตัวควบคุมไม่
สามารถปิดเครื่อง ทางปุ่มบนคีย์บอร์ดหรือสั่ง Shutdown ผ่านทาง Window ได้
ATX
เป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่ ซึ่งอินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาว
มากกว่าส่วนกว้าง แต่ขนาดเล็กกว่าแบบ AT เมนบอร์ดชนิดนี้ได้รับการออกแบบมาให้ซีพียูและ
หน่วยความจำอยู่ใกล้กันซึ่งทำให้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีตลอดจน ซีพียูถูกวางอยู่ใกล้กับ
พัดลมระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังได้กำหนดตำแหน่งและสีของ
ช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ไว้ต่างกัน เพื่อให้จำได้ง่ายและเป็นมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งสามารถที่จะ
สั่งปิดเครื่องจากวินโดว์ได้โดยไม่ต้องกดปุ่มปิดเครื่องเองแต่เมนบอร์ดชนิดนี้ต้องใช้กับตัวเคส
ชนิด ATX เหมือนกันเท่านั้น
Micro ATX
มีลักษณะรูปร่างทั่วไปจะเหมือนกับเมนบอร์ดแบบATX แต่ได้ลดจำนวนสล็อตลงเหลือเพียง
3-4สล็อตเพื่อให้ราคาจำหน่ายถูกลงแหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเสียบการ์ด เพื่อเติมต่างๆบน
สล็อตมากนัก
flex ATX
เป็นเมนบอร์ดแบบATX ที่มีขนาดเล็กที่สุด ใช้ประกอบกับเครื่องขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ 
เมนบอร์ดชนิดนี้มักมีอุปกรณ์ Onboard เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดโมเด็มมาด้วยแล้ว
จึงมีสล็อตติดตั้งบนเมนบอร์ดเพียง 2 สล๊อตเท่านั้น

เมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู
 
 เมนบอร์ดแบบนี้ถูกออกแบบมารองรับกับการใช้งานซีพียูแต่ละรูปแบบ โดย
เฉพาะเนื่องจากซีพียูในปัจจุบันมีรูปแบบและโครงสร้างไม่เหมือนกัน ซ็อคเก็ตใส่ซีพียูจึง
ไม่เหมือนกันไปด้วย แต่ข้อแตกต่างที่กล่าวมานี้เกิดจากชิปเซ็ตเป็นตัวกำหนด เมนบอร์ด
ที่ใช้ชิบเซ็ตชนิดเดียวกันจะมีคุณสมบัติและความสามารถเหมือนกันสำหรับเมนบอร์ดใน
ปัจจุบันที่ยังนิยมใช้กันสามารถแบ่งตามซ็อคเก็ตใส่ซีพียูได้ดังนี้คือ แบบSocket 7,
Socket 370,Socket A,Slot A,Slot 1 สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 2 ซึ่งเป็นของ
อินเทลที่ใช้สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเมนบอร์ดแบบSocket 3,4,5 ซึ่งเป็นเมนบอร์ด
รุ่นเก่าในปัจจุบันไม่มีการผลิตเพิ่มแล้ว

                               
             เมนบอร์ดแบบslot1                          เมนบอร์ดแบบ socket7                      เมนบอร์ดแบบ socket370
ชนิดเมนบอร์ดซีพียู/รุ่นที่ใช้จำนวนขาชนิดแพ็คเก็ต
Socket 7
Pentium ผลิตรุ่นหลังPentium mmxAMD K5,K6-2 
Cyrix6x86,M ll.

296/321

PPGA
Socket 370
Pentium III (coppermine)  รุ่นความเร็วไม่เกิน 600 MHz 
Celeron (รุ่นใหม่) AMD Cyrix III

370

PPGA Micro PGA 
FC-PGA PPGA
Socket A
AMD Thunderbird (Athlon รุ่นใหม่) AMD Duron

462

PPGA
Slot A
AMD Athlon (รุ่นเก่า)
 
246(2แถว)

SECC (AMD)
Slot 1
Pentium III (coppermine) รุ่น 600 MHz ขึ้นไป

246(2แถว)

SECC -แบบ 242 พิน

เรามาดูเกี่ยวกับ CPU กันนะค่ะ

CPUพิมพ์อีเมล์
 

          ในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น ทุกวงการจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นวงการแพทย์ วงการธุรกิจ และวงการอื่น ๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับเรามาก เพราะคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ทันสมัย มีการคำนวณที่แม่นยำ ถูกต้อง และรวดเร็ว
          บางคนสามารถประกอบคอมพิวเตอร์เองได้ โดยการไปเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ มาประกอบ แต่ในการเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นเราจะต้องมีความระมัดระวัง และรู้เท่าทันกับพ่อค้าหัวใสบางคน เพราะบางครั้งเราอาจจะถูกหลอกได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะไปเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ มาไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ เราจะต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้ลดค่าใช้จ่ายลง และได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ ในที่นี้จะพูดถึงการเลือกซื้อซีพียู 

CPU คืออะไร 

          CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit คือ หน่วยประมวลผลกลาง ตามที่พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์เอาไว้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (Chip) CPU มีลักษณะเป็นชิปตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง ภายใน CPU จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า CPU จะทำหน้าที่คำนวณตัวเลขจากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไปแล้ว CPU จะไปอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ

CPU อยู่ส่วนไหนของคอมพิวเตอร์ 
          เมื่อเปิดฝาเคสจะเห็นว่าอุปกรณ์หลัก ๆ มีอยู่ไม่กี่ชิ้น แต่จะมีแผงวงจรที่เต็มไปด้วยลายวงจร เรียกว่า เมนบอร์ด CPU จะวางอยู่บนเมนบอร์ด ตรงที่มีพัดลมและแผ่นโลหะระบายความร้อน เรียกว่า ฮีตซิงค์ (Heatsink) วางทับอยู่ ส่วนนั้นคือ CPU จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะทำมาจากวัสดุประเภทเซรามิค ภายในจะบรรจุด้วยวงจรทรานซิสเตอร ์ซึ่งมีขนาดเล็กเป็นล้านตัว ภายใต้ตัว CPU จะมีเหล็กแหลม ๆ คล้ายกับเข็มเป็นจำนวนมากส่วนนี้เรียกว่า ขาของ CPU ส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์ต่างๆ

Slot / Socket ฐานติดตั้ง CPU
          เทคโนโลยีการติดตั้ง CPU ของแต่ละบริษัทนั้นจะใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นรูปร่างลักษณะของ CPU แต่ละรุ่นจึงไม่เหมือนกัน เช่น CPU Pentium III ของ Intel ก็จะมีจำนวนของ CPU แตกต่างกับ CPU Duron ของ AMD และ CPU แต่ละตัวนั้นก็จะต้องมีมาตรฐานมารองรับกับ CPU นั้น เราสามารถแบ่งประเภทของ CPU ได้ตามลักษณะของฐานติดตั้ง CPU ซึ่งฐานติดตั้งของ CPU นั้นจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งทุก ๆ เมนบอร์ดจะต้องมีฐานติดตั้ง และจะต้องมีจำนวนขาเท่ากับ CPU ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ CPU จะต้องรู้ว่า CPU รุ่นนี้เป็น CPU ประเภทไหน
ฐานติดตั้ง CPU แบบ Socket 
          ฐานติดตั้ง CPU แบบ Socket นี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานติดตั้งจะมีรูเข็มอยู่จำนวนมากเพื่อที่จะสามารถรองรับกับจำนวนขาของ CPU เพราะ CPU แต่ละรุ่นจะมีจำนวนขาที่ไม่เท่ากัน ฐานติดตั้งแบบ Socket นี้มีหลายชนิด ชื่อรุ่นของ Socket จะตั้งตามจำนวนของ CPU ที่ Socket ชนิดนั้น ๆ รองรับ
ตารางแสดงรุ่นของ CPU ที่รองรับชนิดของ Socket
ชนิดของ Socket
รุ่นของ CPU ที่รองรับ
จำนวนขาของ CPU
Socket 478
Pentium 4 Willamette, Northwood
478
Socket 423
Pentium 4 Willamette
423
Socket A
Duron, Athlon Thunderbird, Athlon XP
462
Socket 370
Pentium III, Celeron
370
Socket 7
Pentium, KB6 – II, DB6 - III
321
Socket 8
Pentium Pro
387

ฐานติดตั้ง CPU แบบ Slot 

          ฐานติดตั้ง CPU แบบ Slot นี้ใช้กับ CPU ที่มีลักษณะเป็นการ์ด ซึ่งจะมี CPU ที่ใช้ Slot แตกต่างกันอยู่ 2 รุ่นคือ แบบ Slot 1 และ Slot A

ฐานติดตั้งแบบ Slot 1 
          ฐานติดตั้งแบบ Slot 1 นี้จะสนับสนุนการทำงาน CPU ของ Intel Pentium III รุ่นความเร็ว 450 MHz จนถึงรุ่นความเร็ว 1 GHz แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยใช้ฐานติดตั้งแบบนี้แล้ว เพราะ Intel เปลี่ยนไปใช้ CPU ติดตั้งแบบ Socket แทน เพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่า
ฐานติดตั้งแบบ Slot A
          ฐานติดตั้งแบบ Slot A นี้จะสนับสนุนการทำงาน CPU ของ AMD Athlon รุ่นที่มีความเร็ว 700 - 1000 MHz จะมีลักษณะคล้ายกับ CPU Slot 1 ของ Intel แต่ AMD ได้ยกเลิกการผลิต CPU ที่ใช้กับฐานติดตั้งบน Slot A ไปแล้ว และได้เปลี่ยนมาผลิต CPU ที่ใช้กับฐานติดตั้งแบบ Socket A

จำนวนขาของ CPU รุ่นต่าง ๆ 
1. Intel Pentium 100 - 233 MMX และ AMD K6 - K6 III มี 321 ขา ใช้งานร่วมกับ Socket 7
รูปที่ 1 แสดง CPU และ Socket 7

2. Intel Pentium Pro จะมี 387 ขา ใช้งานร่วมกับ Socket 8
รูปที่ 2 แสดง Socket 8
3. Intel Pentium Celeron - Pentium II มี 370 ขา ใช้งานร่วมกับ Socket 370
รูปที่ 3 แสดง CPU และ Socket 370

4. Intel Pentium Celeron - Pentium II แบบ Slot 1 ใช้งานร่วมกับ Slot 1 ของ Intel
รูปที่ 4 แสดง CPU แบบ Slot 1 และ Slot 1

5. AMD Athron Thunder Bird และ Duron Socket A
รูปที่ 5 แสดง CPU และ Socket A

6. AMD Athron Slot A
รูปที่ 6 แสดง CPU และ Slot A ของ AMD

7. Intel Pentium 4
รูปที่ 7 แสดง CPU และ Socket 423

จากภาพจะเห็นได้ว่า CPU แต่ละรุ่นจะคล้าย ๆ กัน แต่ถ้าดูดี ๆ แล้วจะเห็นว่าจำนวนขาของ CPU แต่ละรุ่นนั้นไม่เท่ากัน

แคช L1 / L2 หน่วยความจำบน CPU 
          แคช L1 / L2 เป็นหน่วยความจำภายใน CPU ที่ช่วยในการเก็บชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้ในการประมวลผล หน่วยความจำแคชนี้จะไม่เหมือนกับหน่วยความจำแรม แคช L1 / L2 เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงกว่าแรม ซึ่งแคชจะมีราคาแพงกว่าแรม ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านความเร็วของแคชได้พัฒนามาเรื่อย ๆ จนมีความเร็วเทียบเท่ากับสัญญาณนาฬิกาของ CPU ที่มันมีความเร็วสูงก็เพราะว่า มันถูกผลิตให้อยู่บนเนื้อที่เดียวกับตัว CPU หรือเรียกว่า On die

ลักษณะของ CPU รุ่นต่าง ๆ 
1. Celeron เป็นหน่วยประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Pentium II มีหน่วยความจำแคช L2 ขนาด 128 กิโลไบท์ ทำงานที่ความเร็วเดียวกับ CPU เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการความเร็วในการทำงานสูง เพราะมีความเร็วในการประมวลผลต่ำ และเป็น CPU ที่ออกแบบมาให้มีราคาถูก
2. Pentium III เป็นหน่วยประมวลผลที่พัฒนามาจาก Pentium II มีการออกอแบบทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเพิ่มคำสั่งด้าน 3 มิติ และเพิ่มความเร็วในการคำนวณเลขทศนิยม มีความเร็วเริ่มต้นในการทำงานที่ 450 MHz มีหน่วยความจำแคช L2 ทำงานที่ความเร็วเดียวกับ CPU
3. Pentium 4 เป็นหน่วยประมวลผลที่ออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหา CPU ที่ไม่สามารถทำงานที่สัญญาณนาฬิกาสูง ๆ ได้ แต่ Pentium 4 จะมีปัญหาการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ Pentium 4 จะแบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ รุ่นที่ใช้ Socket ขนาด 423 ขา และ 478 ขา
4. Duron เป็นหน่วยประมวลผลมีความเร็วในการทำงานเท่ากับ Pentium III ไม่มีปัญหาในเรื่องความร้อน เป็นรุ่นที่มีราคาถูกมาก ๆ
5. Athlon เป็นหน่วยประมวลผลที่ทำงานได้เร็วกว่า Pentium 4 ที่สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ความร้อนจะค่อนข้างสูง ต้องใช้แผ่นระบายความร้อนที่ใหญ่ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ CPU ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูง ๆ
6. Athron XP เป็นหน่วยประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Athron มีการออกแบบใหม่เพื่อลดปัญหาในเรื่องของความร้อน และเพิ่มระบบจัดการพลังงาน และยังเปลี่ยนแพ็กเก็ตเป็นแบบพลาสติกสีน้ำตาลแดงแทนแบบเซรามิก

วิธีดูความเร็ว CPU 
          CPU จะมีส่วนกำเนิดสัญญาณนาฬิกา เรียกว่า "Clock" คือ ความถี่ในการส่งสัญญาณของแหล่งกำเนิดไปยังส่วนต่าง ๆ ความเร็วของ CPU จะอยู่ที่ระดับล้านรอบต่อวินาที จะแทนด้วยหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz) แต่ตอนนี้ได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น ซึ่งความเร็วจะอยู่ที่ระดับพันล้านรอบต่อวินาที จะแทนด้วยหน่วยกิกะเฮิรตซ์ (GHz) ซึ่งเวลาเราจะซื้อ CPU เราก็จะดูได้จากตัวเลขที่บอกอยู่บนตัว CPU ถ้า CPU ตัวใดที่มีตัวเลขสูงก็แสดงว่า CPU ตัวนั้นประมวลผลได้ที่ความเร็วสูง เช่น Pentium 4 2.66 GHz, Celeron 1.2 A GHz, Duron 1.3 GHz

ประสิทธิภาพและความเร็วของ CPU 
          ประสิทธิภาพของ CPU นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของ CPU คือ ไม่ได้หมายความว่าถ้า CPU มีความเร็วมากแล้วจะทำให้ CPU นั้นมีประสิทธิภาพดี แต่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่นำมาประกอบเข้าด้วยกัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ แรม ถ้าหากเรานำ CPU ที่มีความเร็วสูงอย่าง Pentium 4 หรือ Athlon XP มาใช้กับแรมที่มีคุณภาพแค่ 64 MB และฮาร์ดดิสก์ 5,400 รอบ / นาที ก็ไม่สามารถทำให้ CPU ที่มีความเร็วสูงคุณภาพดีได้ ดังนั้นเราจึงควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์อื่น ๆ และการใช้งานด้วย จะทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีก และได้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้
บริษัทที่เป็นผู้ผลิต CPU มีหลายบริษัทด้วยกัน เช่น อินเทล (Intel Coperation) เอเอ็มดี (AMD) เวียร์ (VIA) และ ทรานสเมตา (Transmeta) แต่ที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ Intel และ AMD ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนี้เป็นคู่แข่งกัน ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะ CPU ของ Intel และ AMD

วิธีเลือก CPU ให้พิจารณาดังนี้ 
1. สำหรับคนที่ต้องการใช้งานด้านกราฟิก ตกแต่งรูปภาพ หรือทำภาพเคลื่อนไหว CPU ที่เหมาะสมกับงานลักษณะนี้คือ CPU ของ AMD รุ่น Thunderbird, Athlon XP หรือ CPU ของ Intel Pentium 4 แบบ 478 ที่ลงท้ายด้วย A ความเร็ว 2000 ขึ้นไป จะช่วยให้ทำงานด้านกราฟิกได้เป็นอย่างดี
2. สำหรับคนที่ใช้งานทั่วไป และผู้ใช้งานไม่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เลย เช่น พิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง ควรเลือก CPU ที่ทนทานต่อการเปิดใช้งานในระยะเวลานาน ๆ CPU ที่เหมาะสมกับงานลักษณะนี้ คือ CPU ของ Intel Pentium, Celeron แบบ Tualatin หรือ CPU ของ AMD Duron ความเร็ว 1 - 1.3 GHz
3. สำหรับงานด้านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งต้องเปิดเครื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน ควรเลือกใช้ CPU ของ Intel Pentium ที่มีความเร็วปานกลาง เช่น CPU Intel Pentium 4 แบบ 478 ที่ลงท้ายด้วย A ความเร็ว 1.7 - 2.2 GHz เพราะจะมีเสถียรภาพในการทำงานดี เครื่องไม่ค่อยแฮงค์
4. สำหรับคนเล่นเกม ถ้าต้องการเล่นเกมโดยเฉพาะ ควรเลือก CPU AMD Athlon XP ความเร็ว 1500 - 1900
5. สำหรับคนที่ต้องการจะเปิดร้านอินเตอร์เน็ต / ร้านเกมส์ CPU ที่เหมาะสมคือ AMD Duron ความเร็ว 1 - 1.3 GHz

ความแตกต่างของ CPU แบบ Tray และแบบ Box 
          Tray คือ CPU แบบถาด เป็น CPU ที่มีราคาถูกกว่า CPU แบบ Box คือ CPU ที่ใส่ไว้ในกล่อง CPU แบบ Tray จะเป็นการรับประกันของทางร้านเพียงแค่ปีเดียว ส่วน CPU แบบ Box ที่มีผู้นำเข้ามาเป็นตัวแทนอย่างถูกต้อง จะรับประกันถึง 3 ปี และมีที่รับเคลม CPU ซึ่งรับประกันให้อย่างแน่นอนว่าได้ CPU ตัวใหม่ และ CPU แบบ Box จะต้องดูว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาอย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าเป็นของ Intel ผู้นำเข้าจะเป็นบริษัท Ingram, Compex ถ้าเป็นของ AMD ผู้นำเข้าจะเป็นบริษัท Power Highland ซึ่งจะมีสติกเกอร์ของบริษัทติดอยู่ที่กล่อง

CPU Remark คืออะไร 
          CPU Remark คือ CPU ที่มีผู้ค้าบางคนนำ CPU ที่มีความเร็วต่ำมารันที่ความเร็วสูงขึ้นโดยการ Overclock ทำให้ผู้ค้าได้กำไรต่อหน่วยสูงขึ้น แต่ CPU ที่ไม่มีกล่อง บางครั้งก็อาจจะไม่ใช่ CPU Remark ก็ได้ เพราะผู้ค้าบางคนนำเข้ามาเฉพาะตัวชิป ไม่มีวัสดุห่อหุ้ม CPU มาด้วย
          ร้านในห้างไอทีบ้านเรานั้นมีการนำ CPU ปลอมออกมาวางขาย โดยการนำ CPU ความเร็วต่ำมา Overclock เพื่อให้ได้ความเร็วสูง ๆ แล้วหลอกขายในราคาที่แพง ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของ CPU ที่เราซื้อมาได้ เพราะในปัจจุบันนี้มีซอฟต์แวร์ที่ช่วยบอกเกี่ยวกับรายละเอียดของ CPU ให้เลือกใช้อยู่มากมาย ซึ่งบางโปรแกรมเป็นฟรีแวร์สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ารู้จักการใช้โปรแกรมเหล่านี้ก็จะมีประโยชน์ทางด้านการใช้งานของ CPU และการเลือกซื้อ CPU เพื่อไม่ให้ถูกหลอก

วิธีตรวจสอบ CPU สามารถทำได้ 2 วิธี
1. ถอด CPU มาดูโดยตรง วิธีนี้เป็นการอ่านรหัสบนตัว CPU จะเห็นว่าบนตัว CPU จะมีชุดรหัสตัวเลข 2 - 3 แถวสกรีนไว้ รหัสที่สกรีนไว้บนตัว CPU จะเป็นตัวบอกว่าเป็น CPU รุ่นไหน ความเร็วเท่าไร ผลิตเมื่อไร
2. ใช้โปรแกรมตรวจสอบ โปรแกรมตรวจสอบนี้จะเป็นของ Intel Processor Frequency ID Utility ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ Intel โปรแกรมนี้จะใช้ได้กับเฉพาะ CPU ของ Intel เท่านั้น ถ้า CPU ถูก Overclock โปรแกรมจะแจ้งให้ทราบทันที

วิธีการที่จะเลือกซื้อไม่ให้เจอ CPU ปลอม 
1. ดูว่าตัวอักษรความเร็วที่พิมพ์ (Screen) ลงบนตัวชิปนั้นมีความคมชัด หรือบิดเบี้ยวหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นของแท้ตัวอักษรของ Intel ต้องเรียบไม่มีรอยขูดขีด
2. ดูกล่องที่ใส่ CPU ซึ่งของ Intel จะมีโฮโลแกรม (Hologram) หรือวัสดุสีรุ้ง จะมีโลโก้ของ Intel
3. เลือก CPU ที่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศ ของ Intel จะเป็นบริษัท Ingram นำเข้า ส่วนของ AMD จะเป็นบริษัท PHL ซึ่งเราสามารถสอบถามกับทางร้านได้ว่ามาจากบริษัทใด ถ้าทางร้านไม่บอกให้ดูที่สติกเกอร์รับประกัน เพราะที่สติกเกอร์จะมีชื่อบริษัทอยู่ ทำให้รู้ว่าเป็นของบริษัทใด
4. การรันเปรียบเทียบ CPU รุ่นเดียวกัน ถ้าเป็น CPU Remark จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า การรันเปรียบเทียบนี้ถ้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง อาจมีปัญหาได้ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง จะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้น CPU แต่ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวได้ โดยเปลี่ยนเฉพาะ CPU เท่านั้น

ตารางเปรียบเทียบราคา CPU ของ Intel และ AMD
INTEL PENTIUM & CELERON
AMD DURON & ATHLON XP
CELERON 1.1 GHz. = 13,200
CELERON 1.2 GHz. = 13,400
CELERON 1.3 GHz. = 13,700
CELERON 1.7 GHz. = 14,200
CELERON 1.8 GHz. = 15,000
CELERON 2.0 GHz. = 15,800
PENTIUM 4 1.7 GHz. = 17,500
PENTIUM 4 1.8 GHz. = 18,400
PENTIUM 4 2.4 GHz. = 19,400
PENTIUM 4 2.5 GHz. = 20,900
AMD DURON 950 MHz. = 12,500
AMD DURON 1.1 GHz. = 12,600
AMD DURON 1.3 GHz. = 12,990
ATHLON XP 1.6 GHz. = 13,600
ATHLON XP 1.7 GHz. = 13,700
ATHLON XP 1.8 GHz. = 14,300
ATHLON XP 2.0 GHz. = 14,990
ATHLON XP 2.2 GHz. = 16,300
ATHLON XP 2.4 GHz. = 17,200

ข้อควรสังเกต 
          เมื่อจะซื้อ CPU ของ Intel และ AMD ที่มีความเร็วสูง ๆ ขึ้นไป จะต้องดูว่าสามารถใช้กับเมนบอร์ดที่มีอยู่ได้หรือไม่โดยถามได้จากคนขายหรือดูที่ข้างกล่องของ CPU ในส่วน CPU ของ Intel ถ้าที่ข้างกล่องพิมพ์ความเร็วของ CPU และมี A ลงท้ายแสดงว่าเป็น CPU รุ่นใหม่ เช่น 1A GHz ก่อนที่จะซื้อต้องศึกษาดูให้ดีก่อนว่าเมนบอร์ดที่มีอยู่สนับสนุนกับ CPU รุ่นใหม่นี้หรือไม่ สามารถดูได้จากคู่มือของเมนบอร์ดที่มีอยู่
          CPU ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีในการผลิต CPU ก็ถูกพัฒนาไปได้เร็วมาก ๆ ซึ่งดูได้จากภายในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาความเร็วของ CPU ได้ถูกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประมาณปลายปี 2543 เป็นครั้งแรกที่ความเร็วของ CPU เพิ่มสูงขึ้นถึง 1 GHz นับว่าเร็วมาก แนวโน้มในการผลิต CPU ในอนาคตใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลงเท่าไร ก็จะทำให้วิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้ออกแบบ CPU เพิ่มจำนวนวงจรทรานซิสเตอร์เข้าไปภายใน CPU ตัวหนึ่งได้มากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความเร็วของ CPU มีความเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ
          ดังนั้น ในการที่เราจะเลือกซื้อ CPU เราควรจะเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องซื้อเฉพาะ CPU ที่มีความเร็วมาก เพราะจำทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และในการเลือกซื้อนั้นทางที่ดีที่สุดเราควรจะเลือกซื้อ CPU แบบกล่องที่มีผู้นำเข้ามาเป็นตัวแทนอย่างถูกต้อง และมีการรับประกันที่แน่นอน ถ้าเราใช้ของปลอมก็จะทำให้พบปัญหาระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้